6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น
6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น
ขั้นตอนที่ 1: ประเมินความเสี่ยง
เมื่อสารเคมีหกล้นแล้ว ก็จะต้องทำการยกย้ายอย่างถูกต้องเหมาะสม ความเสี่ยงสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สามารถสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินและแม้แต่ทำให้บริษัทหรือโรงงานของคุณถูกปรับได้ ความปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับแรกของคุณ
ดังนั้น ขั้นตอนแรกเลย คุณก็จะต้องชี้บ่งถึงสารเคมีที่หกล้นเสียก่อนว่าเป็นสารชนิดใด ขั้นตอนต่อมาก็คือ จะต้องพิจารณาว่าสารนั้นหกล้นในปริมาณมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนที่ 2: เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้คุณปลอดภัยในขณะที่คุณกำลังจัดการกับสารเคมีที่หกล้น
สำหรับคำแนะนำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ในสถานการณ์เช่นนี้ก็คือคุณควรศึกษาข้อมูลจากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS) หรือปรึกษากับทางผู้ผลิตอุปกรณ์ คุณจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนเสมอว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงอย่างมากและให้ใช้ระดับการป้องกันอันตรายในระดับที่สูงที่สุด
ขั้นตอนที่ 3: กั้นแยกและหยุดแหล่งต้นกำเนิดการหกล้น
ความเร็ว ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้น คุณสามารถทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นได้โดยการใช้ Boom, Spill Berm หรือ Absorbent Sock ที่จะอยู่ในชุดอุปกรณ์รับเหตุสารเคมีหกล้นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ คุณสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกัน/ฝาครอบปิดรางน้ำหรือที่อุดรางน้ำเพื่อป้องกันมิให้สารปนเปื้อนใดๆ เคลื่อนที่เข้าไปในแหล่งน้ำได้ หลังจากที่คุณได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นแล้ว คุณจะต้องหยุดแหล่งต้นกำเนิดการหกล้นของสารด้วย โดยสำหรับถังบรรจุหรือภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเสียหายนั้น จะสามารถปะและอุดได้ง่ายโดยการใช้ชุดอุปกรณ์ซ่อมถังบรรจุ ปูนอุดซ่อมแซม หรือผ้าอุดครอบจักรวาร
จากนั้น ขั้นตอนสุดท้าย ให้เทสารเคมีที่เหลืออยู่ไปยังภาชนะบรรจุใหม่
ขั้นตอนที่ 4: ประเมินและทำความสะอาด
ถึงตอนนี้ เมื่อคุณได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นเสร็จแล้ว คุณจะต้องมีแผนการสำหรับการทำความสะอาดสารที่หกล้นและการกำจัดของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น การนำ Absorbent Pad และ Absorbent Pillow มาวางจะสามารถช่วยดูดซับสารที่หกล้นส่วนใหญ่ไว้ได้ ในกรณีที่สารเคมีที่หกล้นมีส่วนประกอบของสารเคมีที่กระด้างมากๆ คุณอาจต้องใช้สารทำละลายหรือสารลดความเป็นกรด/ด่าง
จากนั้น หลังจากที่คุณได้ทำความสะอาดสารที่หกล้นเสร็จแล้ว ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณได้กำจัดของเสียทั้งหมดอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย
ขั้นตอนที่ 5: ทำความสะอาดร่างกายผู้ดำเนินการ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับการล้างและทำให้สารปนเปื้อนสะสมที่เกิดขึ้นมีความเป็นกลางได้อย่างเหมาะสม โดยพื้นที่นี้ควรประกอบด้วยฝักบัวหนึ่งชุดและอ้างล้างตา/ใบหน้าเพื่อทำให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีความปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 6: ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารที่จำเป็น
นำข้อมูลสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันแก้ไข กรอกลงในรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน กรณีเหตุหกล้นของสารเคมีนั้นทำให้ต้องหยุดการผลิตหรือมีบุคคลได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะต้องแจ้งกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมตามข้อกฎหมายที่มีกำหนดแนวปฏิบัติและบทลงโทษไว้แล้ว ดังต่อไปนี้
(1) ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
“มาตรา 34 (2) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคลในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิดสารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ”
โดยบทลงโทษสำหรับเรื่องนี้ มีระบุไว้ใน “มาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 หรือมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท”
และ (2) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
“มาตรา 34 ในกรณีมีอุบัติเหตุในโรงงานเนื่องจากโรงงานหรือเครื่องจักรของโรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีของโรงงานจำพวกใด ถ้าอุบัติเหตุนั้น
(1) เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งภายหลังเจ็ดสิบสองชั่วโมงแล้วยังไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามวันนับแต่วันตาย หรือวันครบกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง แล้วแต่กรณี
(2) เป็นเหตุให้โรงงานต้องหยุดดำเนินงานเกินกว่าเจ็ดวัน ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสิบวันนับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุในโรงงานใดตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจโรงงานและเครื่องจักรและพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 37 หรือมาตรา 39 แล้วแต่กรณี
โดยบทลงโทษสำหรับเรื่องนี้ มีระบุไว้ใน “มาตรา 54 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท”
สวัสดีครับ
ขออนุญาตินำมาแชร์ต่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้สนใจ ครับ
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Jorpor Plus จป. พลัส
เตรียมพร้อม รับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงงาน
อุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลก๊าซหรือสารเคมี
รับมืออย่างมีสติและปลอดภัยได้กับ 6 ขั้นตอนนี้
ขั้นตอนที่ 1 ประเมินความเสี่ยง
เมื่อสารเคมีหกหรือรั่วไหล ผู้พบเห็นต้องทำการแจ้งหัวหน้างาน หรือจป เพื่อเข้าประเมินความเสี่ยงหรือเช็คความเป็นอันตรายของสารเคมีชนิดนั้นๆ ตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS)
.
ขั้นตอนที่ 2 เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ผู้เข้าระงับเหตุหรือผู้ที่อยู่บริเวณพื้นที่เกิดเหตุ ควรที่จะมีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
.
ขั้นตอนที่ 3 กั้นแยกและหยุดแหล่งต้นกำเนิดจากการหกหรือรั่วไหล
ต้องทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกหรือรั่วไหลได้โดยการใช้ Boom, Spill Berm หรือ Absorbent Sock ที่จะอยู่ในชุดอุปกรณ์รับเหตุสารเคมีหกหรือรั่วไหล
.
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและทำความสะอาด
เมื่อได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกเสร็จแล้ว ต้องมีแผนการสำหรับการทำความสะอาดสารเคมีที่หกหรือรั่วไหล
หลังจากที่ได้ทำความสะอาดสารเคมีที่หกเสร็จแล้วอย่างถูกต้องเหมาะสม จากนั้นนำวัสดุที่ใช้ในการดูดซับแล้วไปทิ้งลงถังขยะอันตราย หรือแยกใส่ภาชนะบรรจุเพื่อนำไปกำจัดต่อไป
.
ขั้นตอนที่ 5 ทำความสะอาดร่างกาย
ผู้ที่เข้าระงับเหตุ หรือผู้ที่สัมผัสสารเคมีควรทำการอาบน้ำ ชำระร่างกายด้วยการฟอกสบู่และน้ำจำนวนมากๆ เพื่อเจือจางสารเคมีที่ได้รับจากการสัมผัสออกให้หมด
.
ขั้นตอนที่ 6: รายงานสถานการณ์
กรณีร้ายแรงต้องทำการอพยพคนออกจากพื้นที่ไปยังจุดรวมพล ถ้ามีผู้บาดเจ็บให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือนำส่งโรงพยาบาล จากนั้นต้องมีการนำข้อมูลสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันแก้ไข ระบุลงในรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน และประชุมหารือ เพื่อหามาตรการป้องกันร่วมกันต่อไป
.
สารเคมีรั่วไหลเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การเตรียมพร้อม การควบคุมสารเคมี การสวมใส่ชุดป้องกัน และการปฐมพยาบาลที่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้น
ปรึกษาฟรี ทดลองใช้ฟรี
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน) 061-5469615
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ) 065-9647198
บทความฉบับเต็ม : https://www.jorporplus.com/harisar