การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Act

การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย


สาเหตุของอุบัติเหตุหรืออันตรายที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงานจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย อาจมีสาเหตุมาจาก


(1) สภาพที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ชำรุด ขาดการซ่อมแซมบำรุงรักษา การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกต้อง ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสกปรกในการจัดเก็บวัสดุ สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่ดี เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดบกพร่อง เป็นต้น 


2) การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) เช่น การมีทัศนคติไม่ถูกต้อง เช่น อุบัติเหตุเป็นเรื่องของเคราะห์รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คาดการณ์ผิด ประมาท หยอกล้อเล่นกันระหว่างปฏิบัติงาน เป็นต้น
(3) การขาดความร่วมมือในด้านความปลอดภัย เช่น ไม่ร่วมกิจกรรมความปลอดภัย ไม่รายงานอุบัติเหตุ ขาดจิตสำนึกความปลอดภัย เป็นต้น
ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตราย ในสถาที่ทำงาน

     การค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุพื้นฐานและนำไปสู่มาตรการป้องกัน ควรดำเนินการหลังจากเกิดอุบัติเหตุโดยทันที โดยเร็ว การค้นหาสาเหตุของอันตรายในสถานที่ทำงานมีวัตถุประสงค์คือ

• เพื่อค้นหาสาเหตุพื้นฐานของการเกิดอุบัติเหตุและหาทางป้องกัน
• เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์อุบัติเหตุ
• เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ วางแผนงาน ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสม ปรับปรุงการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ปรับปรุงสภาพที่เป็นอันตราย ข้อมูลสำหรับหัวหน้างานในการสอนงานเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการป้องกัน อุบัติเหตุ ต่างๆให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
• นำแนวทางขยายผลในการควบคุมงานที่มีลักษณะคล้ายกัน
• ใช้ประเมินผลของความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุที่มีอยู่


3การป้องกันและควบคุมสาเหตุของอันตราย

    มาตราการป้องกันอุบัติเหตุแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

         (1) การป้องกันที่เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิด (Source) เช่น การออกแบบเครื่องจักรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นพื้นฐาน

        (2) การป้องกันที่ทางสื่อหรือทางผ่าน (Path) เช่น การกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยเป็นระเบียบปฏิบัติ การจัดสถานที่ทำงานให้เป็นสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

        (3) การป้องกันที่ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) ทำได้โดยการสวมเครื่องแบบที่ถูกต้อง เรียบร้อย การปฏิบัติตามระเบียบการปฏิบัติงานตามคู่มืออย่างเคร่งครัด การออกกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน[6]

4. การลดความสูญเสีย

เช่น เฝ้าระวัง ปฐมพยาบาล ดำเนินงานแผนฉุกเฉิน

5. การวัดผล/ประเมินผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การวัดผล/ประเมินผลการดำเนินงานสามารถแบ่งออกเป็น

      (1) ติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา

      (2) ติดตามประเมินผลหลังจากนำมาตรการไปปฏิบัติแล้ว

กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

• การจัดนิทรรศการด้านความปลอดภัย
• การบรรยายพิเศษด้านความปลอดภัย
• การสนทนาความปลอดภัย
• การตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
• การรณรงค์ให้พนักงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
• การรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ด้วย (เค วาย ที Kiken Yoshi Training : KYT )
• การจัดทำแผ่นป้ายแสดงสถิติอุบัติเหตุ
• การประกวดรายงานสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย
• การประกวดคำขวัญความปลอดภัย
• การประกวดภาพถ่ายหรือโปสเตอร์ด้านความปลอดภัย
• การจัดฉายวีดิทัศน์ความปลอดภัย
• การกระจายเสียงบทความด้านความปลอดภัย
• การเผยแพร่บทความในวารสาร
• การตอบปัญหาชิงรางวัล
• การทัศนศึกษาด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการอื่น ๆ
กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น แรลลี่ความปลอดภัย โต้วาที หรือแซววาทีในหัวข้อเกี่ยวกับความปลอดภัย

 

 

Visitors: 595,558