บทบาทหน้าที่ คปอ.

คปอ.หมายถึง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีตัวแทนจากผู้บริหาร และตัวแทนจากลูกจ้าง และมี จป.วิชาชีพเป็นเลขานุการ ตามที่กฏหมายกำหนด มีหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด (อันนี้ต้องไปดูเองนะครับ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549) ส่วนหน่วยงานความปลอดภัย เป็นหน่วยงานหน่วยงานหนึ่งที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารสูงสุด (กฏหมายกำหนดว่าถ้ามีพนักงานไม่ถึง 200 คนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้) มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายของบริษัท เช่นงานด้านดูแลความปลอดภัย งานด้านควบคุมป้องกันการเกิดเพลิง ฯลฯ


คณะกรรมการ คือ ผู้ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ประจำรับผิดชอบโดยตรง แต่ เป็น คณะผู้คน ที่มี 2 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และ จป. คล้ายกับ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ครับ 

โรงงานมี คปอ. 11 คน ได้แก่
1. 1 คนเป็นผู้แทนนายจ้าง
2. 1 คน เป็น จป.ว การมการและเลขานุการ
3. 4 คน เป็น กรรมการผู้แทนระดับบังคับบัญชา (มาจากการแต่งตั้งโดยนายจ้าง ก็จะมีหัวหน้างานและผจก.ขึ้นไป)
4. 5 คน เป็น กรรมการผู้แทนระดับลูกจ้างมาจากการเลือกตั้ง

หน้าที่ของ คปอ.11 ข้อ
1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติืหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
11.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

Visitors: 586,215