วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (Confined Space)

ข้อบังคับ คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน⛔

วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (Confined Space)

1. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้การปฏิบัติงานที่เสี่ยงอันตราย มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน, ทรัพย์สินบริษัทฯ และลดผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อม

2. ขอบเขต : ทุกหน่วยงานรวมทั้งผู้รับเหมาที่ต้องทำงานเสี่ยงต่ออันตราย ภายในบริษัท

3. นิยาม

- จป.(ว) คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ

- พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุที่มีความรุนแรงสูง คือ พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดระเบิดหรือ เพลิงไหม้ และเสี่ยง ต่อการบาดเจ็บสาหัสขึ้นไป (หยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป) และส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การทำงานในเขตพื้นที่ไวไฟ, การทำงานในพื้นที่อับอากาศ ,การทำงานในที่สูง

- ผู้อนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศ ได้แก่ นายจ้างหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำหน้าที่เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการออกหนังสือขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและต้องผ่านการอบรม ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศมาแล้ว ผู้อนุญาต โดยทั่วไปผู้อนุญาตจะเป็นเจ้าของพื้นที่และทำหน้าที่ในการ ควบคุม ดูแลกระบวนการผลิตในโรงาน เจ้าของพื้นที่ระดับหัวหน้าหน่วยขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ขึ้นไป

- ผู้ควบคุมงานในที่อับอากาศ คือ ผู้บังคับบัญชา หรือ หัวหน้างาน ของหน่วยงานที่จะต้องเข้าไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่าน

การอบรม ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศมาแล้ว และเป็นผู้ลงนาม ในใบขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศโดยทั่วไปหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ซ่อมบำรุง วิศวกรรม ผลิต อื่นๆ

- ผู้ช่วยเหลือ คือ ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ช่วยเหลือโดย จำนวนของผู้ช่วยเหลือจะต้องเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของงานและต้อง ผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศมาแล้วเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมและทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่อับอากาศทำการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน

- ผู้ปฏิบัติงาน คือ ผู้ที่จะต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศมีลักษณะงาน ที่เสี่ยงต่อการได้รับหรือสัมผัสอันตรายจะต้องผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ มาแล้ว

4. ผู้รับผิดชอบ : คณะกรรมการความปลอดภัย / หัวหน้าหน่วยงาน / เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ

จัดทำ และให้หัวหน้าหน่วยงาน นำขั้นตอนนี้ไปใช้

: เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ เป็นผู้รับผิดชอบติดตามตรวจสอบการนำไปปฏิบัติจริง

5. หน้าที่และความรับผิดชอบ

5.1 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต

5.1.1 ได้รับมอบหมายจาก นายจ้างใน การออกใบอนุญาตการ ทำงานในที่ อับอากาศ

5.1.2 มีอำนาจในการอนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ

5.1.3พิจารณาร่วมกับผู้ขออนุญาตในการวางแผนการ ปฏิบัติงานและมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

5.1.4 ต้องทราบลักษณะอันตรายรวมทั้งผลของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

5.1.5 เป็นผู้เตรียมการตัดแยกระบบทุกระบบ

5.1.6 เตรียมให้มีระบบระบายอากาศที่ปลอดภัย

5.1.7 ต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

5.1.8 รับผิดชอบในการสื่อสารไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องภายใน พื้นที่โรงงานรับทราบถึงการปฏิบัติงาน

5.1.9 ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มีการเตรียมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน

5.1.10 ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มีการเตรียมการปฏิบัติงานให้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน

5.1.11 ตรวจสอบให้มั่นใจว่าในระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ กำหนดไว้

5.1.12 เป็นผู้เซ็นอนุมัติในการสิ้นสุดการทำงานตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

5.2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงาน

5.2.1 เป็นผู้ขออนุญาตให้มีการทำงานในที่ อับอากาศ

5.2.2 วางแผนการทำงานที่ปลอดภัยและปิดประกาศ หรือแจ้งให้ ผู้ปฏิบัติงานทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

5.2.3 ทราบลักษณะอันตรายรวมทั้งผลของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับ ผู้ปฏิบัติงาน

5.2.4 เป็นผู้ตรวจสอบบรรยากาศให้เหมาะสมก่อนที่จะอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ

5.2.5 ชี้แจงซักซ้อมหน้าที่รับผิดชอบ วิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

5.2.6 ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอด การทำงาน

5.2.7 ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องมีความเหมาะสมและทำงานได้อย่างถูกต้อง

5.2.8 ควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยฯ และ ตรวจตราให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพที่พร้อม

ใช้งาน

5.2.9 ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ทำงานต้องมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่ทำงานเท่านั้น

5.2.10 ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีแผนฉุกเฉินและทีมช่วยเหลือพร้อม ปฎิบัติงานได้ตลอดเวลา

5.2.11 สั่งให้หยุดการทำงานไว้ชั่วคราวหรือขอให้ผู้อนุญาตยกเลิกการ อนุญาตในกรณีเกิดภาวะที่ไม่ปลอดภัย

5.2.12 เป็นผู้ขออนุญาตสิ้นสุดการทำงาน และตรวจสอบการทำงานเมื่อ งานนั้นเสร็จ สมบูรณ์แล้ว

5.3 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ช่วยเหลือ

5.3.1 ต้องรู้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

5.3.2 กำหนดรูปแบบการสื่อสารกับผู้ทำงานในที่อับอากาศให้เข้าใจง่ายที่สุด

5.3.3 ซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันกับผู้ปฏิบัตงานถึงวิธีการสื่อสารการ ให้สัญญาณ ทั้งในกรณีเหตุการณ์ปกติ และ

ฉุกเฉิน

5.3.4 เป็นผู้มีความชำนาญในการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อนขณะ ปฎิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

5.3.5 เฝ้าระวังสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้ปฏิบัติงาน

5.3.6 ควบคุมให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปทำงานเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาติเท่านั้น

5.3.7 ดำเนินตามขั้นตอนปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

5.3.8 ต้องทราบหลัการและวิธีการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน

5.3.9 ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยเหลือมีความพร้อม และเพียงพอรวมทั้งมีความปลอดภัยในการ ใช้งาน

5.3.10 มีทักษะความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตเป็นอย่างดี

5.3.11 คอยเฝ้าดูแลทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา

5.3.12 ข้อควรปฏิบัติของผู้ช่วยเหลือ

- ให้ติดต่อเจ้าหน้าความปลอดภัยเพื่อทำการตรวจสภาพความเรียบร้อยทั่วๆไป

- มีการตรวจวัดสารพิษสารไวไฟ และปริมาณอากาศที่หายใจ

- มีใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง

- เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว

- มีเครื่องป้องกันภัยส่วนบุคคลครบถ้วน

- เตรียมอุปกรณ์แสงสว่างที่เพียงพอ และเป็นชนิดป้องกันระเบิดได้

- ให้ตรวจสอบรายชื่อ-จำนวนผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงาน

- ให้นัดแนะกับผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศว่าจะใช้สัญญาณติดต่อกันแบบใด

- ให้ตรวจสอบจนแน่ใจว่าอุปกรณ์ช่วยหายใจ/ช่วยชีวิตที่จัดหาไว้พร้อมใช้งานได้ดี

- หากผู้ช่วยเหลือจำ เป็นต้องเลิกหรือหยุดปฏิบัติงาน จะต้องให ้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในที่อับอากาศนั้น ๆ

ออกมาเสียก่อน

- หากผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ประสพปัญหาตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ให้ผู้ช่วยเหลือรีบติดต่อผู้ควบคุม

งาน/ผู้อนุญาต/เจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัย เพื่อร้องขอความช่วยเหลือต่อไป

- หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายนอก ผู้ช่วยเหลือจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายในสถานที่อับอากาศทราบทันที และคอยดูแลให้ทุกคนออกจากที่นั้นๆ อย่าง ปลอดภัย ห้ามมิให้ละทิ้งหน้าที่ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานยังออกจากที่อับอากาศไม่ได้โดยเด็ดขาด

- หากต้องหยุดปฏิบัติงานชั่วคราว (หลังจากผู้ปฏิบัติงานออกมาจากที่อับอากาศ แล้ว ) จะต้องมีการปิดช่องทาง เข้า – ออก โดยมีป้ายเครื่องหมายแสดง “ ที่อับ อากาศ อันตราย ห้ามเข้า ” ติดไว้ให้เห็นเด่นชัด

- ผู้ช่วยเหลือจะต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นหรือติดต่อกับผ ู้เข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ง่าย

- ห้ามมิให้ผู้ช่วยเหลือเข้าไปในที่อับอากาศอย่างเด็ดขาด ถึงแม้จะเป็นการเข้าไปเพื่อ ช่วยชีวิตคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายในที่อับอากาศก็ตาม (ให้รอทีมช่วยเหลือ)

- หากมีปัญหาหรือข้อขัดข้องใด ๆให้รีบติดต่อพนักงานที่รับผิดชอบทันที

5.4 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน

5.4.1 ทราบอันตรายที่จะเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

5.4.2 ทราบขีดความสามารถของร่างกายตนเองว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่

5.4.3 ต้องทำความเข้าใจและซักซ้อมรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็น อย่าง น้อย

- ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้

- วิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าปฏิบัติงาน

- วิธีใช้ PPE ต่างๆ เช่น ถุงมือ หมวกนิรภัย

- วิธีการสื่อสาร เช่น การให้สัญญาณ

- การขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

5.4.4 ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุในใบอนุญาต อย่างเคร่งครัด

5.4.5 ต้องสวมใส่ PPE ตลอดการปฏิบัติงาน

5.4.6 ต้องเพิ่มระมัดระวังเมื่อมีสถานการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น

5.4.7 ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย

5.4.8 ฝึกทักษะความชำนาญในการให้สัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อพบความผิดปกติ

5.4.9 ทราบวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศได้ทันทีเมื่อผู้ควบคุมงาน หรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณ

5.4.10 แจ้งผลการปฏิบัติงานทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงานนั้น เสร็จสมบูรณ์

5.4.11 ข้อควรปฏิบัติผู้ปฏิบัติงาน

- ฟังชี้แจงรายละเอียดและ ขั้นตอนการทำงาน , อันตรายที่อาจได้รับ, การ ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

- แจ้งปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตรายต่อการเข้าทำงานให้ผู้ควบคุมงาน ทราบเพื่อจัดหาคนอื่นทำแทน

- จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทำงานให้เหมาะสมและเพียงพอ

- สวมใส่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย และ PPE

- ห้ามนำอุปกรณ์/เครื่องมืออื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป

- ห้ามดื่มน้ำ , ทานอาหาร, สูบบุหรี่ในที่อับอากาศ

- พักผ่อนให้เพียงพอ

- ตกลงวิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้ช่วยเหลือ

- ลงชื่อ/เวลาที่เข้า-ออก

6. ขั้นตอนการปฏิบัติ : ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยและความปลอดภัย ก่อนอนุญาตให้ทำงานได้ตามขั้นตอน ดังนี้

6.1 ข้อกำหนดทั่วไป

6.1.1 ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต ในการทำงานในที่อับอากาศ ต้องผ่านการอบรมและมีเอกสารยืนยันกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ว่าผ่านการอบรมเป็นที่ถูกต้องตามที่ข้อกำหนดของกฎหมายความปลอดภัยฯ ที่อธิบดีได้กำหนดไว้ทุกประการ ถึงจะสามารถทำงานในที่อับอากาศได้

6.1.1.1 ในกรณีผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต ยังไม่ผ่านการอบรมตามที่กฎหมายความปลอดภัยฯ ที่อธิบดีกำหนด ให้ผู้ที่สามารถอบรมหลักสูตรฯ ดังกล่าวตามที่กฎหมายกำหนด ได้อย่างถูกต้อง ทำการอบรมและผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายความปลอดภัยฯ ที่อธิบดีกำหนด ถึงจะสามารถทำงานในที่อับอากาศได้

6.1.1.2 ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน ผู้อนุญาต ที่อธิบดีกำหนด ทำการปฏิบัติงานในที่อับอากาศโดยเด็ดขาด

6.1.1.3 ก่อนการปฏิบัติงาน ต้องทำการตรวจสอบผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ว่าอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอาการเศร้าซึม เหม่อลอย ง่วงนอน มึนเมา ฯลฯ

6.1.1.4 หากผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวังอยู่ในสภาพไม่ปกติ ผู้ควบคุมงานหรือผู้อนุญาต ต้องทำการเปลี่ยนพนักงานคนอื่น ที่อยู่ในสภาพปกติ มาปฏิบัติงานแทน หรือให้ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวังซึ่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ ทำการพักฟื้นก่อน เมื่อยู่ในสภาพปกติแล้ว จึงให้ทำหน้าที่ตามปกติได้

6.1.1.5 การทำงานในที่อับอากาศจะมีผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม ๆ ละ อย่างน้อย 1 คน โดยแต่ละคน จะต้องปฏิบัติงานคนละหน้าที่เท่านั้น ทำหลายหน้าที่ไม่ได้

6.1.1.6 ห้ามผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ที่เป็นโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจหรือโรคที่แพทย์กำหนด ทำงานในที่อับอากาศโดยเด็ดขาด

6.2 การชี้บ่งงานที่ต้องขอใบอนุญาต

- หัวหน้าหน่วยงาน ผู้ควบคุมงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ จป. และคณะกรรมการ คปอ. พิจารณาถึงสภาพอันตรายของงานและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ต้องขออนุญาตก่อนปฏิบัติงาน โดยใช้หลักวิธีประเมินความเสี่ยงในการเกิดอันตรายดังต่อไปนี้

- Check list

- What if

- FMEA

- FTA

- ETA

- HAZOP

- JSA

- ฯลฯ

เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และเป็นการเตรียมมาตรการป้องกันและแก้ไข ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการทำงาน รวมไปจนถึงการเตรียมความพร้อมที่จะเกิดขึ้น หากเกิดอันตรายที่อาจได้รับกรณีฉุกเฉิน และวิธีการหลีกหนีภัย

6.3 ขั้นตอนการขอใบอนุญาตปฏิบัติงาน

- หัวหน้างานหรือเจ้าของงาน ทำการขอใบอนุญาตก่อนเข้าทำงาน ที่เป็นผู้รับผิดชอบสถานที่ โดยใช้แบบฟอร์มที่ กำหนดไว้ในข้อ 5.1

- หัวหน้าหน่วยงานหรือพนักงานที่เป็นผู้รับผิดชอบสถานที่และผู้ที่มีอำนาจลงนามในใบอนุญาต (ตามที่ระบุในทะเบียนงานที่ต้องขออนุญาต) เป็นผู้ทำการตรวจสอบทุกรายการที่ระบุไว้ในใบอนุญาต หากมีรายการใดไม่ผ่าน ต้องดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง และดำเนินการตรวจสอบใหม่จนมั่นใจว่า สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยพร้อมกับพิจารณาลงนามออกใบอนุญาตให้ทำงานในพื้นที่อับอากาศของหน่วยงาน

- สำหรับงานในบางพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงสูง เช่น การระเบิด กำหนดให้มีวิศวกรหรือผู้ชำนาญการพิเศษ และ/หรือผู้บริหารระดับผู้จัดการส่วนขึ้นไปเข้าร่วมในการตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนการปฏิบัติงาน

- กรณีงานที่ต้องทำการตรวจวัดสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำงาน เช่น วัดปริมาณออกซิเจน, ปริมาณก๊าซติดไฟ เป็นต้น เจ้าของงานต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป. วิชาชีพ) ขอทำการตรวจวัดก่อนทำการขอใบอนุญาต ไม่เกิน 1 ชั่วโมงก่อนปฏิบัติงาน และควรตรวจวัดทุก 1 ชั่วโมง โดยผู้ควบคุมงาน หลังจากการตรวจวัดครั้งแรก และบันทึกผลการตรวจวัดในแบบฟอร์มแบบตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน (xx-xx-xx-xx-xx)

6.4 การใช้ใบอนุญาต

- ใบอนุญาตมีอายุใช้งานได้สูงสุดไม่เกิน 8 ชั่วโมง หรือภายในกะทำงานงานเร่งด่วนที่ต้องทำต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้ผู้ออกใบอนุญาตคอยตรวจติดตามสภาพความปลอดภัยตามใบอนุญาต

- เจ้าของงานต้องเริ่มปฏิบัติงานภายใน 2 ชั่วโมง หลังออกใบอนุญาต หากมีเหตุจำเป็นล่าช้าออกไป แจ้งผู้ออกใบอนุญาตทราบทันที พร้อมคืนใบอนุญาตเดิม และขอออกใบอนุญาตใหม่แทน

- ใบอนุญาตมี 2 ชุด ต้นฉบับให้เจ้าของงานเก็บไว้ที่หน้างาน ฉบับสำเนาให้ผู้อนุญาตเก็บไว้เป็นหลักฐาน

- ผู้ลงนามออกใบอนุญาต ต้องรับผิดชอบ ติดตามตรวจสอบ การปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามใบอนุญาต หากมีการปฏิบัติงานนอกเหนือขอบเขต ให้สั่งระงับการทำงาน

- ผู้ลงนามในใบอนุญาต ต้องเข้าใจและควบคุมดูแลให้การ/ปฏิบัติงาน ตามรายละเอียดที่ระบุในใบอนุญาต

- งานไม่เสร็จตามกำหนด ต้องขอต่อใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

6.5 การขอปิดงาน

- งานเสร็จตามกำหนด เจ้าของงานนำใบอนุญาตคืนผู้ออกใบอนุญาตพร้อมแจ้งขอปิดงาน

- หัวหน้าหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบสถานที่ ร่วมกับผู้ขออนุญาต ตรวจสอบความเรียบร้อยเก็บรวบรวมใบอนุญาตทั้ง 2 ฉบับคืนให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. วิชาชีพ)

- หัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบสถานที่นำใบอนุญาตเก่าที่หมดอายุส่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.วิชาชีพ)

7. ข้อบังคับการทำงาน

7.1 ข้อบังคับการทำงานในสถานที่อับอากาศ

7.1.1 ก่อนปฏิบัติงานต้องขออนุญาตปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ตามแบบฟอร์มใบอนุญาตให้ทำงานในสถานที่อับอากาศ (xx-xx-xx-xx-xx)

7.1.2 ต้องตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมี ฝุ่นละออง ไอ ฟูม ค่า LEL ของสารเคมีต่าง ๆ ให้ค่าต่าง ๆ อยู่ภายใต้เกณฑ์ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะปฏิบัติงาน บันทึกลงในแบบฟอร์มแบบตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน (xx-xx-xx-xx-xx)

7.1.3 ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อยู่ตลอดเวลา

7.1.4 ตรวจสอบ ทดสอบ ไฟฟ้าแสงสว่าง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยจึงเข้าไปปฏิบัติงานได้

7.1.5 เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรอุปกรณ์ต้องถูกต้องเหมาะสมอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน

7.1.6 ห้ามปฏิบัติงานตามลำพังคนเดียว ต้องมีผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง และผู้ควบคุมงาน คอยสังเกตและตรวจสอบการทำงานอยู่ตลอดเวลา

7.1.7 หากอากาศมีการถ่ายเทไม่เหมาะสม ควรใช้พัดลมเป่าช่วยระบายอากาศขณะปฏิบัติงาน

7.1.8 ก่อนและหลังปฏิบัติงาน ต้องตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมงานทุกครั้ง

7.1.9 หลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้วทุกครั้ง ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อยู่ตลอดเวลา

7.1.10 หากเครื่องช่วยหายใจ (SCBA) ถูกนำไปใช้งานจนอากาศภายในถังหมดแล้วหรือเหลือน้อยกว่าที่จะนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ ให้ทำการแยกออกจากจุดเก็บหรือติดป้ายบ่งชี้ว่า “ถังเก็บอากาศหมดแล้ว รอส่งไปเติม”

7.1.11 ให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ

ที่มา www.jorpor.com

 

สวัสดีครับ

     ขอนำ WI งานที่อับอากาศ  ของน้ิอง seriphab  และคุณ tudsanai047   เวป jorpor .com

Visitors: 569,472