คู่มือมาตรฐานความปลอดภัยการใช้งานและการจัดเก็บท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน

คู่มือมาตรฐานความปลอดภัยการใช้งานและการจัดเก็บท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน

(Safety Standard Manual for Housekeeping & Working Pressure Vessel Oxygengas)

 

1.ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 88 - 2517 และมีสีดำเท่านั้น หากตรวจพบว่า ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนที่ใช้งานไม่ใช่สีดำ จะต้องส่งคืนให้แผนก W/H CT. เพื่อทำการตรวจสอบและส่งคืนผู้ผลิตต่อไป

2.ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนที่ใช้ทางการแพทย์จะเป็นสีเขียวมรกตเพราะเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 87 - 2517 หากตรวจพบว่าท่อบรรุจุก๊าซ ออกซิเจนที่ใช้งานอยู่มีสีดังกล่าวปนมา จะต้องส่งคืนแผนก W/H CT. เพื่อที่แผนก W/H CT. จะได้ตรวจสอบและส่งคืนผู้ผลิตต่อไป

3.วาล์วและข้อต่อของท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน จะต้องเป็นชนิดที่ใช้งานกับออกซิเจนเท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ Compressed Gas Association (CGA - 540) เป็นอย่างน้อยหรือได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

4.ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนที่นำมาใช้งาน จะต้องได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐาน มอก. 358 - 2531 เป็นประจำทุก ๆ 3 ปี โดยให้ สังเกตที่ส่วนคอท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน จะต้องมีการตอกตัวเลขระบุเดือนปีที่ทดสอบครั้งสุดท้ายไว้ ระยะเวลาต้องไม่เกิน 3 ปี

5จัดเก็บท่อบรรจุก๊าซในบริเวณที่มีการระบายอากาศที่ดี และต้องห่างจากก๊าซไวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต (6 เมตร) หรือทำการแยกพื้นที่ จัดเก็บ โดยกั้นด้วยกำแพงทนไฟสูงอย่างน้อย 5 ฟุต และทนไฟได้อย่างน้อย 30 นาที (เป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย)

6ข้อห้ามโดยเด็ดขาด คือจัดเก็บไข, สารหล่อลื่น, น้ำมันไฮโดรลิค, น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล, น้ำมันก๊าด, ทินเนอร์ (สารเคมีที่กล่าวมาในเบื้องต้นคือตัวอย่างของสารละลายไฮโดรคาร์บอน) เป็นต้น ไว้ใกล้กับท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนอย่างเด็ดขาด เพราะสารละลายไฮโดรคาร์บอนจะทำให้เกิดการลุกไหม้และเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ท่อบรรจุก๊าซลุกไหม้หรือการระเบิดในที่สุด

7สวมใส่ชุดทำงานหรือถุงมือที่สะอาดไม่ปนเปือนน้ำมันหรือสารไฮโดรคาร์บอน เมื่อทำการประกอบอุปกรณ์ที่ใช้กับออกซิเจน เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestors), อุปกรณ์ควบคุมแรงดัน (Pressure Regulator) หรือการต่อสาย ออกซิเจนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานกับก๊าซออกซิเจนทุกชนิด (น้ำมันจะถูกแรงดันก๊าซที่มีความร้อนสูงจะเกิดลุกไหม้หรือระเบิดได้)

8ก่อนที่จะต่อสายเดินก๊าซออกซิเจนเข้ากับท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนเพื่อใช้งาน จะต้องแน่ใจว่าไม่มีก๊าซไหลย้อนกลับเข้าสู่ท่อบรรจุก๊าซ

9เมื่อนำท่อบรรจุก๊าซมาใช้งาน การเปิดวาล์วต้องเปิดอย่างช้า ๆ หากเปิดวาล์วไม่ออก ให้ทำการส่งคืนแผนก W/H CT. เพื่อให้แผนก W/H CT. ทำการตรวจสอบและส่งคืนให้กับบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย เพื่อทำการแก้ไขโดยช่างผู้ชำนาญการต่อไป

10การถอดฝาครอบวาล์ว (Cap) ของท่อบรรจุก๊าซ ควรถอดเมื่อท่อบรรจุก๊าซตั้งอยู่อย่างปลอดภัยแล้วเท่านั้น เช่น ต้องมีสายรัดกันล้ม เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยแล้วเท่านั้น และต้องมีชื่อก๊าซติดที่ไหล่ท่อและสัญลักษณ์ของก๊าซติดบอกไว้อย่างชัดเจน

11ในกรณีที่แรงดันก๊าซออกซิเจนเหลือน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ให้สำรวจบริเวณโดยรอบว่าไม่มีการทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ หรือไม่มีไอระเหยของสารละลายไฮโดรคาร์บอนอยู่ในบริเวณนี้ จากนั้นให้เปิดวาล์วเพื่อไล่ก๊าซออกซิเจนออกจากถังให้หมด แล้วจึง ปิดฝาครอบวาล์วท่อก๊าซ ทั้งนี้ให้รวมไปถึงกรณีที่เลิกใช้งานท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนและได้ถอดอุปกรณ์ก๊าซออกจนหมดแล้วเช่นกัน 12ห้ามทำการซ่อมหรือดัดแปลงวาล์วหรืออุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยของท่อบรรจุก๊าซ ถ้าหากพบว่าท่อบรรจุก๊าซชำรุด ให้แจ้งบริษัท ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายโดยทันที และห้ามนำอุปกรณ์ที่ชำรุดทุกชนิดมาดัดแปลงเพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่อย่างเด็ดขาด

13.ห้ามใช้ไข, สารหล่อลื่น, น้ำมันไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด ทาที่เกลียวของข้อต่อวาล์วและอุปกรณ์ของท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนอย่างเด็ดขาด หากจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นทาที่เกลียวของวาล์วหรือข้อต่อวาล์ว ต้องใช้สารหล่อลื่นชนิดที่ใช้ได้กับออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งจะมีคำว่า "Compatible For Oxygen" แสดงไว้บนภาชนะบรรจุน้ำยาดังกล่าวอย่างชัดเจน

14.ต้องจัดแยกท่อที่มีก๊าซกับท่อเปล่าออกจากกันและติดป้ายหรือมีเครื่องหมายแสดง เช่นคำว่า "ท่อเปล่า" เป็นต้น วันที่นำออกใช้วันที่ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ผู้อนุมัติผู้ทบทวนผู้จัดทำ คู่มือมาตรฐานความปลอดภัยการใช้งานและการจัดเก็บท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนหน้าที่(Safety Standard Manual for Housekeeping & Working Pressure Vessel Oxygengas)หน้าที่ 3 จาก 4

15.จัดเก็บท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อนหรือการเผาไหม้ ตลอดจนห้ามทำให้เกิดประกายไฟขึ้นอย่างเด็ดขาด และให้กำหนดเป็นสถานที่ห้ามสูบบุหรี่พร้อมทั้งติดป้ายสัญลักษณ์เตือนข้อความสีแดง "ห้ามสูบบุหรี่" ให้เห็นอย่างชัดเจน

16.การวางท่อบรรจุก๊าซ จะต้องวางในแนวตั้งหรือตั้งฉากกับพื้นดินเท่านั้น พร้อมทั้งให้โยงยึดกับโซ่รัดกันท่อล้ม และจะต้องไม่มีสิ่งของ วางทับไว้ด้านบนโดยเด็ดขาด

17.จัดเก็บท่อก๊าซห่างจากลิฟท์ บันได ประตูและทางเดิน และห้ามวางท่อไว้ในบริเวณที่มีสายไฟฟ้าพาดผ่านและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า

18.การดูแลรักษาท่อบรรจุก๊าซ จะต้องระมัดระวังไม่ให้ท่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูงหรือต่ำจนเกินไป เช่น อย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง

19.ต้องจัดวางท่อบรรจุก๊าซไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โล่ง และไม่ควรวางท่อก๊าซออกซิเจนไว้สารกัดกร่อนจากกรดหรือด่าง

20.บริเวณที่จัดเก็บจะต้องสะอาด โปร่ง และมองเห็นได้ชัดเจน และมีป้ายชื่อผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ มีป้ายเตือนอันตรายต่าง ๆ เช่น ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน, ท่อบรรจุก๊าซความดันสูง, ก๊าซอันตราย, ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ เป็นต้น

21.ต้องระวังไม่ให้มีเศษสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองผ่านเข้าไปในวาล์วของท่อบรรจุก๊าซและต้องทำความสะอาดท่ออย่างสม่ำเสมอ และห้าม ห้ามทำการแหย่เศษผ้าเข้าไปทำความสะอาดภายในตัววาล์ว เพราะจะทำให้มีเศษสิ่งสกปรกตกค้างภายในได้

22.ในขณะเคลื่อนย้ายท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน ห้ามนอนท่อก๊าซหรือใช้รถยกยกเคลื่อนย้ายในลักษณะนอนท่อก๊าซบนงารถกอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าหากท่อก๊าซเคลื่อนตัวตกลงกระแทกพื้นอาจจะทำให้ท่อเกิดรอยร้าว และเป็นเหตุนำมาซึ่งการระเบิดของท่อบรรจุก๊าซในที่สุด

23.การเคลื่อนย้ายท่อก๊าซให้เคลื่อนย้ายในแนวตั้งฉากกันพื้นและต้องมีโครงสร้างยึดท่อก๊าซเพื่อป้องกันการล้มก่อนการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง

24.ห้ามใช้ลมหรือก๊าซออกซิเจนเป่าใส่ลำตัวตนเองหรือเพื่อนอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในกรณีที่เพื่อนทำการเชื่อมหรือตัดแก๊สอยู่หรือ อยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟทุกชนิด เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้กับตนเองและเพื่อนได้

25.ผู้ปฏิบัติงานกับท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน ต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด เช่น "อันตรายจากก๊าซอุตสาหกรรม"

 

                                                               

               

 

Visitors: 569,533