การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร

การป้องกันอันตรายของเครื่องจักร 

 อันตรายที่เกินขึ้นเนื่องจาการทำงานกับเครื่องจักร มักปรากฎขึ้นในสถานประกอบกิจการต่างๆ อยู่เสมอ จากสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานของสำนักงาน
กองทุนเงินทดแทน ปี พ.ศ.2549 พบว่า มีคนงานที่ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน โดยถูกเครื่องจักร ชน กระแทก หนีบ หรือดึง เป็นจำนวนถึง 26,955 ราย หรือ คิดเห็น ร้อยละ
13.20 ของจำนวนผู้ที่ประสบอันตรายทั้งหมด 204,257 ราย สาเหตุ ของอันตรายที่เกิดขึ้นมักเกิดจากเครื่องจักรชำรุด เครื่องจักรมีสภาพที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงความประมาทของผู้
ทำงานกับเครื่องจักร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการป้องกันอันตรายมิให้เกิดขึ้นได้ และการป้องกันที่ได้ผลวิธีหนึ่ง คือ การติดตั้งเซฟการ์ด หรือ ฝาครอบที่เหมาะสมที่เครื่องจักร ณ
จุดที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ รวมถึง การแขวนป้ายเตือน ป้ายห้ามเดินเครื่องจักรในระหว่างการซ่อมบำรุง

   
 
   

แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

 
 
       1. เครื่องส่งถ่ายกำลัง ได้แก่ เพลา สายพาน โซ่่ กระเืดื่อง เฟือง ปุลเ่ล่ เกียร์ อันตรายที่เกิดกับคนงานส่วนใหญ่
่ อยู่ในลักษณะของการถูกชน กระแทก หนีบรั้งเข้าไป ทำให้สูญเสียอวัยวะ เช่น มือ แขน เท้า ขา ใบหน้า ศรีษะ ผิวหนัง
เป็นต้น ทำให้คนงานพิการหรือเสียชีวิต
 
 
       2. เครื่องจักรซ่อมบำรุง ได้แก่ เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องไส เครื่องเจาะ เครืิ่องเจียร ลักษณะของอันตรายมัก
อยู่ในรูปของอุบัติเหตุที่เกิดแก่ นิ้วมือ แขน เท้า ใบหน้า ลำตัว ศรีษะ และผิวหนัง และมักเกิดแก่คนงานที่ทำงานกับ
เครื่องจักรนั้นโดยตรง
 
 
       3. เครื่องจักรในกระบวนการผลิต ได้แก่ สายพานลำเลียงวัสดุ เครื่องปั้มโลหะ ปั้นจั่นยกเคลื่อนย้ายวัสดุ
เครื่องเป่า ฉีด หรือเครื่องจักรขึ้นรูปโลหะ/อโลหะต่างๆ อันตรายที่เกิดแก่คนงาน เกิดจากวัสดุกระเด็น วัสดุมีคมบาดมือ
เท้า หรือเครื่องจักรหนีบ ฉุดดึงมือ/เสื้อผ้าเข้าไป
 
 
   

 
     ป้องกันไม่ให้คนสัมผัสกับส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาของเครื่องจักร เ่ช่น เกียร์ ปุลเล่ สายพาน ใบมีดตัด ฯลฯ
 
     ป้องกันมิให้คนสัมผัสกับลักษณะงานที่เป็นอันตรายมาก เช่น ป้องกันการกระเด็นของวัตถุ ถูกตา ใบหน้า ป้องกันถูกเลื่อยตัด
 
     ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการชำรุดของเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรขาดการบำรุงรักษา ใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือใช้เครื่องจักรเกินกำลัง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้เครื่องจักร
 
     ป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ หรือป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เนื่องจากระบบไฟฟ้าชำรุด หรือ ต่อไว้ไม่ถูกต้อง
 
     ป้องกันอันตรายเนื่องจากความบกพร่องของตัวผู้ใช้เอง เช่น ง่วง เหนื่อย เมื่อย เมื่อยล้า เจ็บป่วย เป็นต้น
 
   


ได้รับการออกแบบถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถประกอบกับเครื่องจักรได้เหมาะสม ส่วนใหญ่
  จะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องจักร
   
สามารถป้องกันอันตรายได้มากที่สุด และทั่วบริเวณการทำงานของคนงาน
   
เซฟการ์ดที่ติดตั้งจะต้องไม่ก่อให้มีจุดอ่อนเป็นชนวนให้เกิดอันตรายกับคนที่ใช้เครื่องจักรนั้น
   
เมื่อติดตั้งเซฟการ์ดจะต้องไม่รบกวน ขัดขวางการทำงานจนทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน
  ลดลงหรือเกิดความไม่สะดวกสะบายต่อผู้ใช้เครื่องจักร
   
มีความเหมาะสมกับงาน หรือเครื่องจักรนั้นโดยเฉพาะ สะดวกต่อการปรับแต่ง การตรวจสอบ
  การบำรุงรักษา และการซ่อมแซม
   
ต้องทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด ด่าง
   
วัสดุที่ใช้ต้องคงทน แข็งแรง สามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทกและแรงกดได้เป็นอย่างดี
 
   

   
ตะแกรงลวดถักหรือตาข่าย
   
ตาข่ายเหล็กยึด
   
แผ่นเหล็กเจาะรูหรือไม่เจาะรู
   
แผ่นไม้อัดหรือแผ่นพลาสติก
   
แผ่นหรือแท่งพลาสติกไฟเบอร์
 
 

 

 

 
         ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ 5
            กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
 

 

Visitors: 569,506