ทำงานกับคนญี่ปุ่น ตอน 3

การทำงานกับคนญี่ปุ่น ตอนที่ 3

02
MAR
3. คำศัพท์ที่ควรรู้เอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานกับคนญี่ปุ่น
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพล่าม)

- TPO (Time, Place, Occasion)
แต่งกายและใช้คำพูดโดยคำนึงโอกาส เวลาและสถานที่

- Oasis (オアシス)

O หมายถึง Ohayougozaimasu (おはようございます) สวัสดี (ตอนเช้า)

A หมายถึง Arigatougozaimasu (ありがとうございます) ขอบคุณ

Si หมายถึง S(h)itsureishimasu (失礼します) (ขอโทษที่) เสียมารยาท

S หมายถึง Sumimasen (すみません) ขอโทษ

- Hourensou (ホウレンソウหรือผักขม)

Hou หมายถึง Houkoku (報告) การประกาศ การแจ้ง

Ren หมายถึง Renraku (連絡) การติดต่อสื่อสาร

Sou หมายถึง Soudan (相談) การปรึกษาหารือ

- “ถ้ายอมถามจะเสียหน้าแค่หนึ่งครั้ง ดีกว่าไม่ถามแล้วเสียหน้าไปตลอดชีวิต”
(聞くは一時の恥、聞かぬは一生の恥) คนญี่ปุ่นจะคิดว่า “เจ้าหน้าที่คนไทย ต่อให้มีเรื่องไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่ค่อยถามนะ” ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่คนไทยก็จะคิดว่า “……さんดูท่าทางจะทำอะไรยุ่งๆ อยู่ ถ้าถามไปจะเป็นการยุ่งยากรบกวนรึเปล่านะ” ต่างฝ่ายต่างก็คิดกันไปต่างๆ นานา อย่างไรก็ดี คนญี่ปุ่นโดยพื้นฐานแล้วเป็นชนชาติที่ “ชอบการบอกกล่าว” นะครับ พอถูกถามเมื่อมีเรื่องที่ไม่เข้าใจ ก็จะทำให้เขาเข้าใจว่าตัวเองอธิบายได้ไม่ดีเป็นครั้งแรก กลับจะรู้สึกขอบคุณเสียด้วยซ้ำ กรุณาถามกันเยอะๆ นะครับ

- สนทนาโดยใช้ “5W2H” อย่างระมัดระวัง
เมื่อต้องการใช้คำว่าเมื่อไหร่ (Whenいつ) ที่ไหน(Whereどこで) ใคร(Whoだれが) อะไร(What何を) ทำไม(Whyなぜ) อย่างไร(Howどのように)เท่าไหร่(How Muchいくら)ในการทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ภาษาปะปนกันหลากหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษในบางครั้ง จนทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารผิดพลาด หรือเข้าใจผิดว่า “ไม่ได้ถามแบบนั้นเสียหน่อย” ขึ้นบ่อยครั้งได้

- 5S (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิต)
อันได้แก่ สะสาง(整理) สะดวก(整頓) สะอาด(清潔) สุชลักษณะ(清掃) และสร้างนิสัย(しつけ) ทั้งนี้ เนื่องจากในภาษาไทยเองก็มี 5 ส. จึงทำให้จดจำได้ง่าย

4. เพื่อให้เป็นล่ามแปลภาษาที่ดี
ถึงแม้ว่าผมจะไม่ใช่ล่ามมืออาชีพ แต่ในการทำกงานก็มีบางครั้งที่ผมต้องทำหน้าที่ล่ามแปลภาษา นอกจากนี้ยังมีล่ามที่บากบั่นมาเรียนที่โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งผมก็เคยได้ฟังเรื่องราวจากนักเรียนเหล่านี้ โดยสามารถเล่าเรื่องในขอบเขตจากประสบการณ์ได้ดังต่อไปนี้

1) ล่ามจะต้องเตรียมใจรับกับความทุกข์จาก
“ภาวะทางสองแพร่งที่ต่างก็ไม่น่าพึงประสงค์”

กล่าวคือต้องถูกกดดันบีบคั้นอยู่ท่ามกลางเจ้าหน้าที่คนไทยและคนญี่ปุ่น จนคิดว่าในบางครั้งเกิดความเครียดสะสม

2) ความรู้พื้นฐาน
รักษาเวลาอย่างเคร่งครัด ดูแลสุขภาพร่างกาย และมีหน้าที่ในการรักษาความลับ

3) ประเด็นทางเทคนิค
– ห้ามย่อเนื้อหาที่จะล่าม พยายามถ่ายทอดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าหากตัดสินตามอำเภอใจว่า “ตรงจุดนี้ไม่สำคัญนี่นะ” แล้วล่ามแบบย่อๆ แล้วล่ะก็ ในบางครั้งอาจทำให้เรื่องราวที่ตามมาไม่สอดคล้องกันก็เป็นได้

นอกจากนี้ ถ้าหากฟังเรื่องราวที่ยาวมากๆ แล้วตัดสินเองว่า “ที่จริงก็มีหลายเรื่องอยู่หรอกนะ แต่ส่วนที่สำคัญคือแบบนี้ใช่ไหม” แล้วย่อเรื่องให้สั้นลง ผู้ที่ให้เราทำการล่ามแปลภาษาให้ ก็อาจจะรู้สึกไม่มั่นใจว่า “เข้าใจจริงๆ รึเปล่านะ” แต่ก็แน่นอนว่ากรณีดังกล่าวก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันนะครับ

- ห้ามขัดจังหวะคนพูด
ถ้าหากล่ามแปลภาษาในช่วงเวลาที่รวดเร็วเกินไป ก็อาจทำให้ผู้พูดเสียอารมณ์ได้ ถ้าเป็นไปได้ ควรมีการนัดหมายกันล่วงหน้าว่าจะผู้พูดหยุดพูดเมื่อถึงความยาวเท่าไร และแปลได้เมื่อไหร่

- มีการจดบันทึก

- ใช้วิธีการพูดที่เข้าใจง่าย (ใช้น้ำเสียงที่จับใจความได้ง่าย สำเนียงที่ชัดเจน)

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

Visitors: 569,648