สั่ง อย่างไร… ให้ได้ทั้งใจ และงาน

โดย: จป น้อย สระบุรี [IP: 61.91.85.xxx]
เมื่อ: 2015-08-20 14:52:07
ารสั่งงานเป็นภาระหน้าที่ ของนักบริหารทุกระดับ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการสั่งบุคคล ภายในองค์การของตน ให้ทำงาน และความที่มนุษย์ เราไม่สามารถจะล่วงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด ปัญหาการทำงาน จึงเกิดขึ้นทุกวัน คนที่เป็นหัวหน้า จึงต้องคอย วิเคราะห์ข้อมูล ของปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้ววินิจฉัยสั่งงาน ไปยังผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาของตน ให้ทราบถึงแนวทาง สำหรับแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน และทำให้งานนั้นๆ มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น



ในการสั่งงาน และกระตุ้นให้คนงานด้วยความเต็มใจนั้น ผู้นำที่ดีหรือหัวหน้าที่ดี จะต้องมีความรู้เรื่องศิลปะของการเป็นผู้นำ รู้หลักมนุษยสัมพันธ์ รู้เรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร และประการสุดท้ายคือ ต้องรู้หลักจิตวิทยา ในการสั่งงานด้วย จึงจะสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้



การสั่งงานนั้น มีความหมายรวมทั้งการขอร้องให้ทำ การออกคำสั่ง และการให้คำแนะนำด้วย

การสั่งงานยังเป็นการแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่า เขาจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร ทำกับใคร ทำที่ไหน และทำเมื่อใด เป็นเบื้องต้น



ลักษณะของการสั่งงานที่ดีมีหลักอยู่ว่า ถ้าผู้รับคำสั่งเข้าใจคำสั่งถูกต้อง และปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ งานที่สั่งไปนั้น ก็จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี ดังนั้นลักษณะของคำสั่งที่ดีจึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้



สั่ง อย่างไร… ให้ได้ทั้งใจ และงาน

คำสั่งต้องกระจ่าง คนรับคำสั่งจะต้องปรุโปร่งเลยว่า ภารกิจที่เขาจะต้องไปทำต่อคืออะไร โดยคำสั่งนั้นต้องชี้ถึง “งาน” ที่เป็นรูปธรรม และสั่งด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่าย ลำดับความชัดเจน เป็นข้อๆ ได้เลยยิ่งดี และควรจะมีทั้งคำสั่ง ที่ถ่ายทอดด้วยวาจา และลายลักษณ์อักษรเพื่อกันลืม หรือเพื่อไล่เรียงปฏิบัติจนกระทั่งครบถ้วน



สิ่งที่สั่งนั้นจะต้องเป็นไปได้ถ้างานที่สั่งเป็นงานที่สุดวิสัย ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำได้ ย่อมไม่ได้รับความร่วมมือ ผู้สั่งงานจะต้องรู้ถึงความสามารถ ของผู้รับคำสั่ง ทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ และระยะเวลา ที่กำหนดว่าพอเพียง หรือไม่ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ต้องไม่สั่งให้ทำสิ่งที่เกินจริงหรือเกินสถานการณ์



ถ้อยคำ น้ำเสียง และท่าทีที่ใช้ประกอบคำสั่ง ต้องชวนให้ผู้รับคำสั่งเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม คำสั่งควรมีความชัดเจนว่า ให้ทำทันดี ให้ทำตามนี้ หรือเพียงมอบหมายภารกิจ และให้ไปคิดวิธีการกันเอาเอง แต่ผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นอย่างไร การออกคำสั่งต้องไม่แฝงการวางอำนาจของผู้บังคับบัญชา อาจใช้วิธีออกคำสั่งในรูปแบบของการจูงใจ (Motivation) ซึ่งเป็นวิธีการกระตุ้น หรือผลักดันให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ที่ได้รับมอบหมาย โดยจะต้องเลือกจังหวะเวลา ในการสั่งงานที่เหมาะสม พร้อมทั้งอธิบายลักษณะงานให้ชัดเจน ใช้คำพูดที่สุภาพ เลือกท่าทีแบบขอแรง หรือกำหนดให้ทำให้เหมาะกับสถานการณ์ และอารมณ์ของคนในขณะนั้น หากภารกิจไม่ถึงกับเร่งด่วน เป็น-ตาย ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับคำสั่งได้ร่วมตัดสินใจ และร่วมออกความเห็น เกี่ยวกับงานที่ทำด้วย ก็จะยิ่งดี



การอธิบายเหตุผลประกอบการสั่งงาน มีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ตามหลักจิตวิทยาถือว่า การที่คนเราต้องทำอะไรตามคำสั่งคนอื่น โดยไม่ทราบว่าทำไปเพื่ออะไร หวังผลอะไรจากการทำงานนั้น จะขาดความรู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน ฉะนั้นจึงเป็นการสมควรที่ผู้สั่งงาน จะได้อธิบายถึงเหตุผล ที่ต้องทำงานนั้น ให้ผู้รับคำสั่งทราบ โดยไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว บุคลิกหรือลักษณะที่ดี ของคนที่มีหน้าที่ สั่งงานคนอื่น ก็คือ ต้องรู้จักใช้ทั้ง “พระเดช” และ “พระคุณ”

ในยามปกติ คนเป็นหัวหน้าคนต้องมีท่าทีที่เป็นมิตร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส น่ารัก พูดจามีหลักการ เหตุผล ไม่แข็งกร้าว ไม่ใช้น้ำเสียงประเภทที่เรียกกันว่ามะนาวไม่มีน้ำ ที่สำคัญคือ ต้องพิสูจน์ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งหมดประจักษ์ และยอมรับว่า คุณมีความสามารถที่เพียงพอ ต่อการรับผิดชอบงาน ในตำแหน่งหน้าที่นั้นจริงๆ พร้อมกันนี้คุณก็มีท่าที



หรือนโยบายที่ชัดเจนว่า คุณประสงค์ที่จะทำงานเป็นหมู่คณะ มากกว่าฉายเดี่ยว

สั่ง อย่างไร… ให้ได้ทั้งใจ และงาน คุณจึงเห็นความสำคัญ ของผู้ร่วมงานทุกคน และให้ความสำคัญ กับพวกเขาทุกคนด้วย



แต่ในยามที่คุณจะต้องเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดขึ้นมาละก็ คุณก็จะยึดมั่น ในความถูกต้องเหมาะสมเป็นสำคัญ จะไม่มีวัน ลำเอียง หรือเอนเอียง ต่อสัมพันธภาพส่วนตัวเด็ดขาด คุณพร้อมจะกำหนด หรือออกคำสั่ง ให้ใครคนใดคนหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ในทันที มีคำแนะนำเบื้องต้นให้ และกำหนดเวลา ที่จะประเมินผล หรือทบทวนปัญหาอีกครั้ง อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ไม่ปล่อยไปแบบ เลยตามเลย และให้ความยุติธรรมต่อคนอื่นๆ ในเวลาเดียวกันนั้นด้วย



ผู้นำเช่นคุณจึงต้องฝึกฝนการพูดจาและท่าทีที่ “ได้ใจ” ลูกน้อง คือเป็นกันเองเมื่อมีชีวิตปกติ เป็นหัวหน้า เมื่อต้องเป็น หัวหน้า มีน้ำเสียงที่ฉะฉาน ชัดเจน เด็ดขาด แต่เอื้ออาทร ไม่ใช่แล้งน้ำใจ เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทว่าบังเอิญถูกกำหนด บทบาทหน้าที่ให้ทำงานที่ต่างกันออกไป แต่ไม่ใช่เทวดา หรือเจ้าชีวิตแน่นอน!!





ขอขอบคุณข้อมูลแจาก first magazine

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 569,050