ไคเซ็น

หลักสูตร ไคเซ็นเพื่อการเพิ่มผลิตภาพและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง( Kaizen for Productivity  and Continuous Improvement)

หลักการและเหตุผล

การเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรจะทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรมีมากมาย องค์กรจำเป็นที่จะต้องเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ลดความสูญเสีย มีต้นทุนในการดำเนินงานที่เหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลา

ระบบข้อเสนอแนะไคเซ็น(Kaizen Suggestion System) เป็นระบบหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรอย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ และปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเป็นระบบ ระบบข้อเสนอแนะไคเซ็นเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน พนักงานสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย จึงได้รับการตอบรับที่ดีจากพนักงานในการดำเนินการ จึงทำให้ ระบบข้อเสนอแนะไคเซ็นเป็นระบบการเพิ่มผลิตภาพระบบหนึ่งที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย

หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างพื้นฐานไคเซ็นให้เข้าใจแนวคิดไคเซ็นเรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุง พัฒนาไปยังเครื่องมือต่างๆเช่น PDCA , QC7 Tools , 5S โดยมีตัวอย่าง การทำกิจกรรม เพื่อให้เห็นประโยชน์และพัฒนาต่อยอดได้ต่อๆ ไป

ทำไมต้องอบรมหลักสูตรนี้!!

  1. นี่คือหลักสูตรไคเซ็นที่เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
  2. หากต้องการให้พนักงานนำแนวคิดของ KAIZEN ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
  3. ผู้เข้าอบรมมีแรงบันดาลใจในการที่จะคิดแนวทางปรับปรุงใหม่ๆ อยู่เสมอ
  4. ต้องการเกิดการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในองค์กร
  5. เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการส่วนต่างๆ ที่ดี และยั่งยืน
  6. หลักสูตรนี้ไม่ตึงเครียดจนน่าเบื่อเกินไป

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจแนวคิดและความเป็นมา ของกิจกรรม วิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ KAIZEN นำไปปรับปรุงอย่าง และลดต้นทุนได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงการวางระบบบริหารไคเซ็น Step by Step
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมประยุกต์ใช้ไคเซ็นแบบทันยุคทันสมัยแก้ไขปัญหาองค์กรแบบทันใจ

หัวข้อการอบรม

   ช่วงเช้า

           1. ไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร

           2. หลักการของการทำไคเซ็น (กฎ 3 ประการ) เพื่อที่จะทำไคเซ็นอย่างรวดเร็วและง่ายดาย

               2.1 รุกจากหลายระดับ

               2.2 รุกจากหลายแนวคิด

                2.3 รุกจากส่วนเล็กๆ

          3. กฎ 3 ป ( ปรับปรุง ,เปลี่ยนแปลง ,ปฏิบัติ )

          4. Kaizen ในโรงงาน

               4.1 ความคิดสร้างสรรค์

               4.2  ใช้หลัก เลิก ลด เปลี่ยน( ECRS)

               4.3 เคล็ดลับการนำ Kaizen มาใช้ในโรงงานให้ประสบความสำเร็จ

          5. แนวคิด Kaizen การเปลี่ยนแปลงสิ่งใกล้ตัว ในชีวิตประจำวัน

          6. กรณีศึกบริษัทที่ทำ Kaizen ประสบความสำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน

          7. ตัวอย่างในการทำ Kaizen ของแต่ละบริษัท

          8.  Workshop ช่วงเช้า ให้ แต่ละคนหรือกลุ่ม นำปัญหาในโรงงานและแนวทางทำ Kaizen

 

        ช่วงบ่าย

             พรีเซ็น  ปัญหาในโรงงานและแนวทางทำ Kaizen

          9. ไคเซ็น VS นวัตกรรม

          10. เทคนิคการตั้งคำถาม เพื่อไคเซ็น ( 5W 1H )

          11.  เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อไคเซ็น ( 5W 1H ) เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องและหาวิธีการปรับปรุง

          12. เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงาน (สร้างสรรค์ โดยหลักการ เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS)

          13. กำหนดปัญหา ตาม 4 M  เพื่อทำแผนภูมิก้างปลา

                  M1 : Man (บุคลากร)

                  M2 : Machine ( เครื่องมือ/อุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวก)

                   M3 : Material ( วัสดุใช้สอย /วัสดุสำนักงาน)

                   M4 : Method (วิธีการปฏิบัติการ)

         14. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข 4 M ตามหลัก Kaizen

         15. ขั้นตอนการทำ Kaizen

          16. Workshop  แบ่งทีม ทำไคเซ็น ตามแผนก 4-6 ทีม

รูปแบบการอบรม  :  การบรรยาย  65 % กิจกรรมกลุ่ม  35 %

กลุ่มเป้าหมาย :     ผู้บริหาร / หัวหน้างาน / ฝ่ายบุคคล / คณะกรรมการ KAIZEN / พนักงานหรือผู้ที่สนใจ

ระยะเวลาการอบรม :   จำนวน 1 วัน  ( 6 ชั่วโมง )

จำนวนผู้เข้าอบรม :   30-45  คน/รุ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตอย่าง

ต่อเนื่องด้วย KAIZEN

  1. ผู้เข้าอบรมสามารถนำ Kaizen ไปใช้ในหน่วยงานได้จริง
Visitors: 585,761