ทำไมถังแก๊สต้องใส่กุญแจล็อก

สวัสดีครับ

          ผมนำคลิปที่แสดงว่า ถังแก๊สที่เราใช้ต้องล็อก ใส่กุญแจ เก็บในที่ที่มิดชิด ใส่กุญแจล็อก ไม่ให้คนอื่นเข้าไปใช้

การจัดวางถังแก็สเพื่อความปลอดภัย

ราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แก็ส LPG  หรือ แก็สหุงต้ม  เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  ณ ปัจจุบัน   เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวกสบายแต่ขณะเดียวกันแก็สหุงต้มมีคุณสมบัติไวไฟและเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟอย่างรวดเร็ว จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้  การจัดวางถังแก็สหุงต้มเพื่อความสะดวก และความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เรามาดูกันค่ะว่า Metal Zign  เอาประสบการณ์จากการทำงานมานานกว่า 20 ปี มาปรับใช้ในครัวบ้านอย่างไรกันบ้างเพื่อความปลอดภัย

ในอุตสาหกรรมอาหาร โรงแรม ร้านค้า ที่เค้าใช้แก็สปริมาณเยอะมาก  เค้าดูแลกันอย่างไร  และมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยยังไงบ้างนะคะ

การจัดเก็บถังบรรจุก๊าซ

  • เก็บถังก๊าซในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี และแห้ง โดยวางห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อน หรือแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • เก็บถังห่างจากวัสดุหรือสารไวไฟ เช่น สีน้ำมัน สารละลายต่างๆ อย่างน้อย6 เมตร และต้องมีโซ่คล้องป้องกันถังแก็สล้ม
  • บริเวณที่ตั้งถังแก็ส ต้องมีรั้วโปร่งทําด้วยวัสดุทนไฟสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร ล้อมรอบถังแก็ส และที่รั้วต้องมีทางเข้าออกอย่างน้อยสองทาง กว้างไม่น้อยกว่า ๑.๐๐ เมตร และมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร ทางเข้าออกดังกล่าวต้องเป็นประตูโปร่งที่เปิดออกด้านนอก
  • ที่ประตูทางเข้ารั้วโปร่งให้มีป้ายที่มีข้อความ ดังต่อไปนี้ อันตราย, ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามก่อประกายไฟ, ห้ามบุคคลภายนอกเข้า, ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ” ข้อความในป้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงบนพื้นสีขาว มีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย

อุปกรณ์ สำหรับ Station Gas

  1. Regulator (หัวปรับแก๊ส) คืออุปกรณ์ ปรับแรงดันแก๊สจากถังแก๊สให้เหมาะสมกับประเภทของเตาแก๊ส ก่อนที่จะเผาไหม้ที่เตาแก๊ส หากไม่มีหัวปรับแก๊ส แรงดันแก๊สจากเตาแก๊สอาจมากเกินไป ทำให้เตาแก๊สเกิดระเบิดได้ หรือ อาจน้อยเกินไป ทำให้ไฟไม่ติดได้ หัวปรับแก๊สจึงเปรียบเสมือนหัวใจของระบบแก๊สนั้นเอ งมีหลายไซค์ หลายขนาด หลายราคา ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

2. Relief valves (รีลิฟ วาล์ว) เป็นวาล์วนิรภัยประเภทที่ใช้งานทั้งกับแก็สและของเหลว โดยจะรักษาควบคุมความดันให้ได้ตามที่ตั้งเอาไว้

 3. Gauge (เกจ์วัดแรงดัน) ช่วยในการบอกปริมาณคงเหลือภายในถัง

  4. Flashback Arrestor For Regulator (ตัวกันย้อน)  ช่วยให้แก๊สไหลไปข้างหน้า ไม่สามารถย้อนกลับเข้าถังได้ เมื่อมีแรงดันแก๊สที่ถังลดลง

 5. Ball Valve (บอลวาล์ว) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของแก๊ส  ควบคุมช่องเปิด-ปิดด้วยกลไกล ที่เป็นเหมือนลูกบอลผ่าครึ่ง บอลวาล์วสำหรับแก็สจะทำจากทองเหลือง และมีความต่างจากก๊อกน้ำปกติ คือทนแรงดันได้สูงกว่าก๊อกธรรมดาซึ่งก๊อกธรรมดาจะไม่สามารถใช้งานกับแก๊สซึ่งมีแรงดันสูงได้

  6. ท่อนำ คือ ท่อสำหรับจ่าย ไปยังหัวเตา ซึ่งอาจจะเป็นท่อทองแดง หรือท่อสแตนเลส  มักจะทาด้วยสีเหลืองตามมาตรฐานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน

เมื่อท่อส่งแก๊สเดินผ่านผนังจากนอกอาคารเข้าไปในอาคาร ต้องกำหนดให้ตำแหน่งของรูที่เจาะผนังนั้นอยู่ห่างจากขั้วถังแก๊สด้านนอก และหัวถังแก๊สด้านในเตาหุงต้มพอสมควร เนื่องจากท่อส่งจะเป็นท่อค่อนข้างแข็งเพื่อความแข็งแรง การหักงอโดยทันทีทำได้ยาก และมีโอกาสที่ข้อต่อขั้วจะหลุดหรือรั่วก็มีมากตามไปด้วย ดังนั้นควรจะมีความห่างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร หัวต่อระหว่างแก๊สกับเตาส่วนใหญ่ จะใช้เป็นท่อทองแดง เพราะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

สำหรับครัวบ้าน

โดยปกติแล้ว สำหรับในบ้านเรือน มักจะเก็บถังแก็สไว้ในครัว และตัวอาคาร หากเมื่อเกิดการรั่วของวาล์วหรือที่สายยางนำแก็ส แก็สที่รั่วออกมาจะส่งกลิ่นให้เราทราบ  ซึ่งก็จะวนเวียนอยู่ภายในอาคาร  ควรรีบเปิดหน้าต่างเพื่อระบาย กระจายแก็สออกไปภายนอก ไม่ควรกดสวิทซ์ไฟ เพราะอาจเกิดประกายไฟก็จะระเบิดได้ หรือถึงแม้ไม่มีประกายไฟเกิดขึ้นก็ตา ม หากสูดดมแก็สปริมาณมาก ๆ คน สัตว์ ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เหมือนกัน  ดังนั้นทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดคือการเอาถังแก็สไว้ด้านนอกตัวอาคาร หรือตัวบ้าน หากเกิดแก็สรั่วซึมของแก็ส แก็สก็จะกระจายออกไปได้เร็วกว่า ลดโอกาสในการระเบิดได้

เราย่อความปลอดภัย มาไว้สำหรับครัวบ้าน  โดยอาจจะใช้เพียงแค่ 1-2 ถังเท่านั้น  จัดหาที่วางสำหรับถังแก็ส ในบริเวณใกล้ห้องครัว  อาจอยู่ใต้ชายคาบ้าน  หากไม่มีบริเวณชายคา แนะนำให้ทำโครงเรือนง่าย ๆ สำหรับกันแดด กันฝน เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อน การวางถังแก๊สตากแดดไว้นานๆอาจเกิดการระเบิดได้ ข้อดีอีกอย่าง ในการเปลี่ยนถังก็สามารถทำได้สะดวก เพราะพนักงานที่จัดส่งแก๊สก็ไม่ต้องเข้ามาภายในอาคาร หรือบ้านของเรา สามารถเปลี่ยนได้จากภายนอกเลย

แต่อย่างไรก็ตาม  บางบ้านอาจจะไม่สะดวกหรือไม่มีพื้นที่ไว้สำหรับวางถังแก็สไว้นอกบ้าน การใช้สายยางนำแก็สหุงต้ม เข็มขัดรัดท่อ ต่อเข้ากับหัวปรับความดันแก็ส ที่ต่ออยู่กับตัวถังแก็สโดยตรง การใช้สายยางนำแก็สซึ่งเป็นสายยางอ่อน หากได้รับการทิ่มแทงอาจทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบำรุงรักษา ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่ามีการรั่วของสายยางหรือไม่  ที่สำคัญคือควรต้องมีการเปลี่ยนสายยางทุกๆ 3 ปี และทุกครั้งหลังการใช้งาน ควรปิดวาล์วถังแก็สให้สนิท เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถใช้แก็สได้อย่างปลอดภัยแล้วค่ะ

 

Visitors: 568,682