หลักสูตร Hiyari Hatto & KYT

หลักสูตรเหตุการณ์เสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ/เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

 (HIYARI HATTO ACTIVITY& KYT )

หลักการและเหตุผล

      สถานประกอบการได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมความปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้พนักงานทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและกลับถึงบ้านในแต่ละวันอย่างปลอดภัย โดยไม่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุแต่อย่างใด

      ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของฝ่ายบริหาร กิจกรรม Hiyari Hatto เกิดขึ้น ซึ่ง “ฮิยาริ” เป็นภาษาญี่ปุ่นมีคำเดิมว่า “ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ (Hatto-Hiyari-Hotto)” หมายถึง การแสดงออกของความรู้สึกของความตกใจและแสดงอาการนั้นออกมาเป็นคำพูดในลักษณะอุทานเวลาเห็นเหตุการณ์ หรือประสบกับเหตุการณ์ที่เกือบเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำอุทานในภาษาไทยว่า “อุ๊ย! เกือบไปแล้ว…มั้ยล่ะ” แต่เนื่องจากคำว่า “ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ” มีความยาวเกินไปจึงละคำว่า “ฮ้อตโตะ” เป็น “ฮิยาริ-ฮัตโตะ (Hiyari-Hatto)” มีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า “อุ๊ย! เกือบไปแล้ว”    

      KYT ( Kiken Yochi Training ) เป็นวิธีการของญี่ปุ่น ที่นิยมและยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ลดเรื่องอุบัติเหตุเป็นอย่างมากแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตในการผลิต และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย เป็นกิจกรรมที่ฝึกการค้นหาอันตรายและคาดการณ์อันตรายภายใต้แนวความคิดที่ว่า ช่วยกันทำอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะการชี้นิ้ว และพูดย้ำ มีการฝึกอบรมทางด้านความรู้ และเทคนิค ความไวของประสาทสัมผัส ด้านอันตราย รวมไปถึงการมีสมาธิ และความกระตือ รือร้น สร้างความสามัคคี ความพร้อมเป็นหนึ่ง

     กิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การส่งเสริมผู้สอน หรือวิทยากรภายในองค์กรด้านความปลอดภัยการหยั่งรู้อันตราย KYT จึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมวิธีการ ในการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและการหยั่งรู้อันตราย  อันเป็นเป้าหมายของทุกองค์กรคือ การยกอุบัติเหตุเป็นศูนย์หรือ Zero Acciden

         2 กิจกรรมนี้ จึงได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ในการร่วมกันค้นหาอันตราย ชี้จุดเสี่ยง แล้วมาช่วยกันระดมสมองคิดหาแนวทางการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ หรืออุบัติเหตุขึ้น ด้วยความร่วมมือกันคิดและทำจริงของพนักงาน เพื่อเป้าหมาย ลดอุบัติเหตุ เป็นศูนย์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำ  “กิจกรรม Hiyari Hatto ”
  2. เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมแจ้งปัญหาที่เคยประสบและอาจเกิดอันตรายต่อสมาชิกของพนักงาน
  3. เพื่อให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและจุดไหนที่เสี่ยงต้องได้รับการปรับปรุง
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมค้นหาอันตรายต่างๆ ที่อาจมีอยู่หรือแฝงอยู่ในงาน และหาวิธีการควบคุมป้องกันด้วยตนเอง นำไปเดือนสติก่อนปฏิบัติงาน ด้วย KYT
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการท างาน

   หัวข้อการฝึกอบรม
      1.  หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ( ZERO ACCIDENT )
      2.  องค์กรทุกๆองค์กรคาดหวังอะไร จากการทำงานของพนักงาน
      3.  ความหมายของศัพท์ที่ควรรู้
            2.1 INCIDENT อุบัติการณ์
            2.2 NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ

            2.3ACCIDENT อุบัติเหตุ
     4. สาเหตุของอุบัติเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการเกิดอุบัติเหตุ

     5. กิจกรรม Hiyari Hatto เหตุการณ์เสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
               5.1 วัตถุประสงค์และประโยชน์ของกิจกรรม Hiyari Hatto 

               5.2 ขั้นตอนและวิธีการ กิจกรรม Hiyari Hatto 

               5.3 การติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

               Workshop : ภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่ม ทำกิจกรรม Hiyari Hatto 

     ** เพิ่มการทำ Application ผ่านการสแกน QR Code ง่ายต่อการส่งข้อมูล สำหรับพนักงาน**

          6. KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

                6.1   ประวัติ ความเป็นมา ของความสำคัญของ KYT

                6.2  ค้นหาจุดอันตราย จากภาพที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ

                6.3 ประเภทของ KYT  ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

                     -  KYT 4 ยก ( 4 Rounds KYT)

                     -  KYT  จุดเดียว ( One Point KYT )         

                     -  KYT ปากเปล่า ( Oral KYT )        

                  6.4  ขั้นตอนการ KYT 4 ยก 

                        ยก 1 ค้นหาอันตรายและสาเหตุ

                        ยก 2 เลือกอันตรายที่สำคัญ 1-2 ข้อ

                        ยก 3 หามาตรการป้องกันแก้ไข

                        ยก 4 เลือกมาตรการป้องกันแก้ไขที่ดีที่สุด 1-2 ข้อ

                      สรุปเป็นข้อความสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย อุบัติเหตุเป็นศูนย์ มือชี้ ปากย้ำ เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน

                ***Workshop : การฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม  

          KYT 4 ขั้นตอน ฝึก 2 รอบ  KYTปากเปล่า ฝึก 1 รอบ

                     6.4 สรุปการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย ที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและใช้ในชีวิตประจำวัน             

รูปแบบการอบรม บรรยาย 60 % Workshop  40  %

กลุ่มเป้าหมาย :      พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ระยะเวลาการอบรม  :  จำนวน 1 วัน  ( 6 ชั่วโมง )

จำนวนผู้เข้าอบรม :      30-45  คน/รุ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสร้างสัญชาตญานความปลอดภัย คาดการณ์อันตรายล่วงหน้า เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน
  2. ผู้เข้าอบรมรู้และค้นหาอันตรายในแผนก หามาตรการปรับปรุงแก้ไข สร้างวินัย สร้างสามัคคี การทำงานเป็นทีมและลดอุบัติเหตุ
  3.  ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจการนำกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  

Visitors: 569,207