กฏหมาย จป ฉบับใหม่

สรุปกฎหมาย กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565

 

สรุปสาระสำคัญ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565

ไข้ข้อข้องใจเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ จป หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 2565 ทุกระดับมีอะไรบ้างวันนี้จะมาสรุป และ อธิบายรายละเอียดสาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ฉบับนี้

บทนำ

“กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565”

ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 โดยกฎกระทรวงฉบับนี้จะบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2565 กฎหมายดังกล่าวได้ออกประกาศ และ ยกเลิกกฎหมายฉบับเก่า

“กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ยกเลิก! “

เมื่อกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ออกมาถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการด้านความปลอดภัยที่ต่างไปจากเดิมค่อนข้างมาก โดยรายละเอียดได้กำหนดเอาไว้ทั้งสิ้น 5 หมวด ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

5 หมวด กฎหมาย จป 2565

หมวด 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 แบ่ง ประเภทกิจการที่ต้องมี จป ออกเป็น 3 บัญชี รวมแล้วทั้งหมด 64 ประเภทสถานประกอบกิจการ ที่ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงนี้

จากเดิมกฎหมายเก่า กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ประเภทกิจการที่ต้องมีจปจะกำหนดไว้ เพียง 14 ประเภท สถานประกอบกิจการเท่านั้น

ประเภทกิจการที่ต้องมี จป ตามกฎหมายใหม่ 2565 มีอะไรบ้าง คลิกที่นี่ >

จป. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

กฎหมายใหม่ได้เพิ่มเติมโดยแบ่งประเภทของ จป. ออกเป็น 2 ประเภท

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยตำแหน่ง
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ

 

ประเภทของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ตามกฎหมายใหม่ 2565

ส่วนที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งมี 2 ระดับ 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ซึ่งหากนายจ้างของสถานประกอบกิจการ ตามบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ที่มีลูกจ้างตามจำนวนที่กฎกระทรวงฉบับนี้กำหนด ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานทุกคนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการภายใน 120 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบตามจำนวน

คุณสมบัติ จป หัวหน้างาน ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  2. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี

จป หัวหน้างาน ตามกฎหมาย 2565 มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ระบุหน้าที่ของ จป หัวหน้างานทั้งหมด 10 ข้อสิ่งที่เพิ่มมาจากกฎหมายเก่ามี 1 ข้อ คือข้อ 3

จป หัวหน้างานต้องจัดทำคู่มือความปลอดภัยฯ

ข้อ 3 จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยของนายจ้างแล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน

* จป หัวหน้างาน เป็นคนทำคู่มือการทำงาน หรือ WI นั้นเอง *

กฎหมาย จป พศ. 2565 บทลงโทษ

 

คุณสมบัติ จป บริหาร ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เคยเป็นเพื่อนที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 21 ของกฎกระทรวงนี้

โดยมีหน้าที่ จป.บริหาร ทั้งหมด 4 ข้อไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายเก่า

 

ส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ จป เทคนิค ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  2. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี ตามกฎกระทรวงนี้

ซึ่งในส่วนของคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงนี้ จะไม่ได้พูดถึงระดับการศึกษาเหมือนกฎหมายเก่า โดยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคยังคงมี 6 ข้อ เช่นเดิม

คุณสมบัติ จป เทคนิคขั้นสูง ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบเท่า และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและผ่านการประเมิน
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและผ่านการประเมิน
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 21 ของกฎกระทรวงนี้
  4. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  5. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและผ่านการประเมิน
  6. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและผ่านการประเมิน

ซึ่งเมื่อได้ดูคุณสมบัติของ จป.เทคนิคขั้นสูง ตามกฎหมายใหม่ได้มีการเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับคุณสมบัติของ จป.เทคนิคขั้นสูง และในส่วนของหน้าที่ของ จป.เทคนิคขั้นสูง ยังคงมี 9 ข้อเช่นเดิม

คุณสมบัติ จป วิชาชีพ ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและผ่านการประเมิน
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีในสถานประกอบกิจการ ตามบัญชี 1 หรือสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้
  4. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  5. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและผ่านการประเมินภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้
  6. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือ เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและผ่านการประเมินภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้

หน้าที่ จป วิชาชีพ ข้อ 12 ตามกฎหมายใหม่ 2565

กฎหมายใหม่ได้มีการระบุหน้าที่ของ จป วิชาชีพทั้งหมด 12 ข้อ เพิ่มมา 1 ข้อจากกฎหมายเก่า คือ

“ ข้อ 12 ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงานเพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (หน้าที่ จป วิชาชีพที่เพิ่มมาจากกฎหมายเก่า) ”

 

ตารางสรุปเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

จำนวนลูกจ้างที่ต้องมี จป ตามกฎหมายใหม่ 2565

 

หมวด 2 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ

ในส่วนของหมวด 2 ได้พูดถึงจำนวนของ คปอ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางจำนวนและสัดส่วนคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ของสถานประกอบกิจการ (คปอ.)

ตารางสัดส่วน คปอ

ต้องมีจำนวนคณะกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากันซึ่งมีหน้าที่ 12 ข้อ โดยกำหนดหน้าที่ และ อำนาจที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมดังนี้

ข้อ 1 จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
ข้อ 2 จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอับัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง

จากเดิมตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549  มี 11 ข้อในข้อ 1 กำหนดให้ คปอ. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ตามข้อ 1 และ 2 แต่ไม่ได้กำหนดให้จัดทำ และหน้าที่ที่สำคัญของ คปอ. อีกข้อคือต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และ ต้องติดประกาศรายงานการประชุมภายใน 7 วัน ในที่ที่เปิดเผย

คปอ. ตามกฎหมายใหม่ 2565

 

หมวด 3 หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กรณีลูกจ้างลดลงเหลือน้อยกว่า 200 คน แต่ไม่น้อยกว่า 100 คน ให้คงหน่วยงานความปลอดภัยไว้โดยหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยยังคงมี 10 ข้อ เช่นเดิม กฎหมายใหม่มีการเพิ่มเติมนอกจากต้องมีหน่วยงานความปลอดภัยแล้ว จะต้องจัดให้มีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้านการบริหาร บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย และ ต้องไม่เป็น จป.วิชาชีพ
  • หากเคยเป็น จป.วิชาชีพ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

ซึ่งแต่เดิม จะใช้คำว่า หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย เมื่อกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ประกาศออกมาเปลี่ยนเป็นคำว่า ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย กฎหมาย จป 2565

 

 

หมวด 4 การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

  • นายจ้างต้องนำรายชื่อ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมเอกสาร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง
  • กรณีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ หรือผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ นายจ้างต้องแจ้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบภายใน 30 วัน นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่

หมวด 5 การแจ้งและการส่งเอกสาร

  1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยหรือกรรมการความปลอดภัย ให้ส่งสำเนา ภายใน 15 วัน นับจากวันที่แต่งตั้ง
  2. รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค เทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 2 ครั้ง 
  • ครั้งแรก ภายใน 30 วัน นับแต่ 30 มิถุนายน ของทุกปี
  • ครั้งที่ 2 ภายใน 30 วัน นับแต่ 31 ธันวาคม ของทุกปี

ให้นายจ้างแจ้งหรือส่งทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ในระหว่างที่ยังไม่สามารถแจ้งหรือส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ใช้วิธีที่อธิบดีประกาศกำหนดไปก่อน ซึ่งในส่วนของรายงานตามข้อ 2 จากเดิมกำหนดให้ส่งทุก 3 เดือน กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 2 ครั้ง/ปีเท่านั้น

 

กฎหมาย จป 2565 รอประกาศ (ร่าง)

ข้อมูลดีดี มาจาก จป TODAY

https://www.jorportoday.com/law-jorpor-2565/

 

Visitors: 569,269