มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

หลักสูตร มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
หลักการและเหตุผล
       โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙ กําหนดให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีทีสภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ
เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมง ตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนดให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินใน
สถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร

วัตถุประสงค์
      - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์การได้ยินและความสำคัญ
      - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการได้ยินและผลกระทบจากเสียงดัง
      - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน
      - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและการป้องกัน
      - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจประเมินสมรรถภาพการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน
- เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินมาตรการการอนุรักษ์การได้ยิน

   หัวข้อบรรยาย
        • การอนุรักษ์การได้ยิน มีความสำคัญกับพนักงานอย่างไร
        • ความรู้ทั่วไปเบื้องต้น เรื่องเสียง และอันตรายของเสียงดัง
             - ฟังตัวอย่างเสียงที่ไม่รบกวน และเสียงรบกวน มีลักษณะเสียงอย่างไร
             - เครื่องมือตรวจวัดเสียง มีอะไรบ้าง ตรวจอย่างไร
        • ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และกลไกลการได้ยิน
        • กฎหมายที่เกี่ยวกับเสียง ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
กรณีที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป สถานประกอบการ ต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินเป็นลายลักษณ์อักษรในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
        • การควบคุม ป้องกัน การได้ยินที่เกินค่ามาตรฐาน
        • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

        • โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

          1) ต้องมีนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
          2) ต้องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
          3) ต้องมี การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring) ให้ทำ 3เรื่อง
              3.1  ต้อง สำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
              3.2 ต้อง ศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง
              3.3 ต้อง ประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้าง
          4) ต้องมี การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
          5) ต้อง จัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map)
          6) ต้องมี การอบรมให้ความรู้
          7) ต้อง ประเมินและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

 

     กลุ่มเป้าหมาย
        - ผู้บริหาร
        - ผู้จัดการหน่วยงาน
        - หัวหน้างาน
        - พนักงาน

     ระยะเวลาอบรม : 6 ชั่วโมง ( 9.00 น -16.00 น)

    รูปแบบการอบรม : บรรยาย 60 % Workshop 30 % เกมส์สันทนาการ 10 %
    ผู้เข้าอบรม : ผู้บริหาร ผจก. หน.แผนก หน.งาน วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน
    ระยะเวลาอบรม : 1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )
    วิทยากร : อ.วินัย ดวงใจ

 

 
 
กรุณากรอกข้อความ...

 

Visitors: 568,692