บทความดีดีจาก จป เมืองปากน้ำ (อ.สวิน)

ารสื่อสารความปลอดภัย อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เทคนิค 5P   

อ.สวินทร์ พงษ์เก่า

 นักวิชาการความปลอดภัย จิตอาสา                                          

  

 

                  บทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) ทุกระดับ    คือการ  นำองค์ความรู้  ทักษะ ประสพการณ์  สื่อสาร ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ปฎิบัติงาน ทุกคนทุกระดับ ในองค์กรเพื่อจะได้ เข้าใจและ นำไปสู่การปฎิบติงาน ในแต่ละภาระกิจ ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ   ด้วยความปลอดภัย     อันเป็นเป้าหมายที่สำคัญขององค์กรที่ต้องการให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์   การสื่อสารเป็น ทั้งศาสตร์และศิลป์  ที่ต้องทำด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ในข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร และต้องสื่อสาร ด้วยใจ  จากใจ สู่ใจ เป็นการส่งความปรารถนาดี และความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่ต้องการให้ผู้ที่รับสาร (ข้อมูล)  สัมผัสได้   

                  การสื่อสารเป็นกระบวนการของการส่งผ่านข่าวสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความคิด ทัศนคติ และอารมณ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย อันได้แก่ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร

                   

                    ด้วยเหตุนี้การนำเทคนิค 5P   มาใช้ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ  จะทำให้ทั้ง จป.ที่เป็นผู้ ส่งสาร และ ผู้ปฎิบัติงาน ที่เป็นผู้รับสาร จะทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่าของการป้องกันการบาดเจ็บ เจ็บป่วย   อันจะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัย  เพื่อ ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และความผาสุข ( Safety Health Wellbeing ) อย่างยั่งยืน ต่อไป

 

                               เทคนิค 5P   ประกอบด้วย

 

 

 

 

Prepare   เตรียมความพร้อม

 

 

Pinpoint    ตรงประเด็น

 

 

Personalize   ต้องใกล้ตัว

 

 

Picturize    ต้องเห็นภาพ

 

 

Prescribe    ต้องสรุปการพูดอย่างมีเงื่อนไข

 

 

 

                                                     5P    Tippoint

 

 1.

Prepare

-

คิดและเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด และศึกษาผู้ฟังคือใคร

 

 

-

เขียนสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องพูดลงในกระดาษ ทำเป็นบันทึกกันลืม

 

 

-

อ่านเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องพูด ให้เข้าใจอย่างกระจ่าง

 

 

-

อ่าน ฟัง สอบถาม ค้นหาข้อมูล เรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องพูด

 

 

-

จัดลำดับความสำคัญ และขอบเขตจะพูด

 

 

-

ฝึกพูดบ่อยๆให้เกิดความมั่นใจ

 

 

 Pinpoint

-

อย่าพูดให้ครอบคลุมเนื้อหากว้างมากเกินไป

 

 

-

เลือกประเด็นหลักเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถเขียนออกมาเป็นหนึ่งประโยค

 

 

-

มุ่งประเด็นเพื่อการสื่อสารให้รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

 

 

 Personalize

 

-

 

หัวข้อที่จะพูดต้องให้เกี่ยวข้องกับบริบทของผู้ฟัง

 

 

-

นำสู่แนวคิดเพื่อให้ใกล้ตัวผู้ฟ้ง

 

 

-

ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้ฟัง

 

 

-

ให้ความใกล้ชิดและมีความหมายสำหรับผู้ฟัง 

 

 Picturize 

-

ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดเจน ด้วยการยกตัวอย่าง

 

 

-

ดึงดูดด้วยการใช้น้ำเสียงและสายตา มุ่งไปที่ผู้ฟัง

 

 

-

ช่วยให้ผู้ฟังเห็นในสิ่งที่ เราต้องการจะสื่อความหมาย

 

 

-

ใช้โสตทัศนูปกรณ์ที่เหมาะสมช่วยในการสื่อสาร 

 

 Prescribe

-

ต้องสรุปและตอบคำถามที่ผู้ฟังสงสัยให้กระจ่าง

 

 

-

ชี้แนวทางและบอกสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

 

 

-

ถามถึงการปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง

 

 

-

ให้บทสรุปการพูดเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติได้ 

                         บทสรุป     เพื่อทำให้การสื่อสารความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ เราต้องใช้ทั้ง 3 ภาษา อย่างผสมผสานและกลมกลืน   กล่าวคือ

                   ภาษากาย              ลีลาท่าทาง  ลีลาบนใบหน้าและสายตา

                   ภาษาใจ                ใจสนุก เปิดใจกว้างยอมรับ

                   ภาษาเสียง            ลีลาน้ำเสียง  เป็นมิตร

                              “กายร่าเริง ใจเป็นสุข เสียงยิ้มได้” 

 

Visitors: 568,768