การคำนวณสถิติอุบัติเหตุ

ขอบคุณข้อมูลดีดีจากอาจารย์

Vijit Saiyasri

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ข้อความพูดว่า "สถิติอุบัติเหตุ ติอ สถิ Coach SAFETY FIRST MS VSW I.F.R I.S.R"

 

✅การคำนวณสถิติอุบัติเหตุ<img src="https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t3f/1/16/1f30d.png"
alt="
•อัตราความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุ(IFR)
= (จ.น.คนที่บาดเจ็บ * จ.น.ชม.การทำงานเปรียบเทียบ) / จ.น.ชม.การทำงานทั้งหมด
•อัตราความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ (ISR)
= (จ.น.วันที่บาดเจ็บ * จ.น.ชม.การทำงานเปรียบเทียบ) / จ.น.ชม.การทำงานทั้งหมด
จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมด = จำนวนคนงาน*จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน*1ปี ( 52wk)
จำนวนชั่วโมงการทำงานเปรียบเทียบ
• ANSI = 1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน
• OSHA = 200,000 ชั่วโมงการทำงาน
• HSE = 100,000 ชั่วโมงการทำงาน
การประเมินผลทางสถิติของอุบัติเหตุ
การจัดทำสถิติอุบัติเหตุ (Accident statistics) จะทำให้เกิดประโยชน์ในการจัดการความปลอดภัย ดังนั้นการจัดทำสถิติจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อทราบจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ของแต่ละแผนกหรือแต่ละหน่วยงาน
เพื่อทราบถึงอัตราความร้ายแรงและความถี่ของการประสบอันตรายตามแนวสากลซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างโรงงานต่อโรงงาน
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ในการปรับปรุงหรือวางแผนการตรวจความปลอดภัย
การเก็บข้อมูลอุบัติเหตุแล้วนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผลในเชิงสถิติเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการปรับปรุงหรือส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อใช้ในการประเมินผลลัพธ์ของสถานประกอบการว่ามีการป้องกันหรือการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ และสถิติที่ได้ยังใช้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในด้านความปลอดภัยได้ด้วย โดยนำมาจัดทำเป็นบอร์ดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถิติอุบัติเหตุ เช่น จำนวนวันสะสมที่ยังไม่พบอุบัติเหตุ วันที่ล่าสุดที่เกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางอุบัติเหตุอาจไม่ถูกรายงานด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่
พนักงานขี้เกียจทำงานเอกสาร
พนักงานไม่สนใจ และไม่เห็นความสำคัญของการบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูล
พนักงานอาจจะละอายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
พนักงานกลัวว่าจะเป็นผู้ผิด และถูกลงโทษ
สถานประกอบการพยายามรักษารายงาน และสถิติที่ดี
รายงานเดิมๆ ไม่ได้รับการเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้บริหาร
การคำนวณอัตราการเกิดอุบัติเหตุเพื่อให้การเปรียบเทียบสถิติของอุบัติเหตุในโรงงานประเภทต่างๆ หรือหน่วยงานต่างๆในโรงงานเดียวกันเป็นไปได้อย่างถูกต้อง จึงต้องกำหนดให้มีมาตรฐานอย่างเดียวกัน โดยทั่วไปมักจะคิดเป็นจำนวนครั้งหรือความร้ายแรงของอุบัติเหตุภายใน 1,000,000 ชั่วโมงคนงาน (Man-hours) อัตราที่นิยมใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับสถิติอุบัติเหตุ ได้แก่ อัตราความถี่ของอุบัติเหตุ (Frequency Rate) อัตราความร้ายแรงของอุบัติเหตุ (Severity Rate) และวันสูญเสียโดยเฉลี่ยต่ออุบัติเหตุ (Average Day Charged Per Accident :ADC)
อัตราความถี่ของอุบัติเหตุ (Frequency Rate, FR หรือ Injury Frequency Rate, IFR) คือ การคำนวณหาจำนวนครั้ง จำนวนผู้ประสบอันตราย (ความถี่) ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อชั่วโมงทำงาน 1,000,000 ชั่วโมง (บางตำราใช้ 1,000 ชั่วโมง) ในระยะเวลาหนึ่งโดยที่จำนวนชั่วโมงทำงานของคนงาน ประมาณว่าปีหนึ่ง คนงานคนหนึ่งทำงานได้ 50 สัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งทำงาน 48 ชั่วโมง หรือวันละ 8 ชั่วโมง ดังนั้นปีหนึ่งจึงมีชั่วโมงทำงานประมาณ 2,400 ชั่วโมง
ตัวอย่างที่ 1
ในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องแก้วแห่งหนึ่ง จากการบันทึกอุบัติเหตุในปี 2550 ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 40 ครั้ง โรงงานแห่งนี้มีคนงานทั้งสิ้น 1,050 คน คนงานทำงานโดยเฉลี่ย 275.2 วัน วันละ 7.5 ชม.
จำนวนครั้งของอุบัติเหตุ 40 ครั้ง
จำนวนคนงาน 1,050 คน
จำนวนวันทำงานเฉลี่ยต่อปี 275.2 วัน
จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน 7.5 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงแรงงานต่อปี = 1,050x275.2x7.5 = 2,167,200 ชั่วโมง
ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ = (40x1,000,000)/2,167,200 = 18.46
การคำนวณหาอัตราความร้ายแรงของการเกิดอุบัติเหตุ(Severity Rate, SR หรือ Injury Severity Rate, ISR) โดยวัดจากเวลาทำงานที่เสียไปเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุต่อชั่วโมงทำงาน 1,000,000 ชั่วโมง ในระยะเวลาหนึ่ง (บางตำราใช้ 1,000 ชม.) จำนวนวันทำงานที่สูญเสียไปจะรวบรวมจากการบันทึกอุบัติเหตุในรอบปีที่ต้องการคำนวณค่าสถิติ ในกรณีที่มีการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียชีวิตจะประเมินจำนวนวันทำงานสูญเสียเทียบเท่า การคิดจำนวนวันทำงานสูญเสียในกรณีที่คนงานเสียชีวิตนั้น ได้กำหนดว่า คนงานที่เสียชีวิต 1 คน จะคิดจำนวนวันทำงานสูญเสียประมาณ 20 ปีๆละ 300 วัน หรือ 6,000 วัน อัตราความร้ายแรงของอุบัติเหตุคำนวณได้ดังนี้
อัตราความร้ายแรงของอุบัติเหตุ (S) = จำนวนวันทำงานที่เสียไป x 1,000,000
จำนวนชั่วโมงทำงานของคนงานทั้งหมด
จำนวนวันทำงานสูญเสีย
ลักษณะของการบาดเจ็บ
จำนวนวันทำงานสูญเสีย เสียชีวิต 6,000
พิการหรือทุพพลภาพตลอดชีวิต 6,000
แขน เหนือข้อศอกขึ้นไป 4,500
แขน ระหว่างข้อมือถึงข้อศอก 3,600
มือ 3,000
นิ้วหัวแม่มือ 600
นิ้วอื่น ๆ หนึ่งนิ้ว (ขึ้นกับนิ้ว) 300 (200-400)
นิ้วอื่น ๆ สองนิ้ว ในมือเดียวกัน 750
นิ้วอื่น ๆ สามนิ้ว ในมือเดียวกัน 1,200
นิ้วอื่น ๆ สี่นิ้ว ในมือเดียวกัน 1,800
นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วอื่น ๆ หนึ่งนิ้วในมือเดียวกัน 1,200
นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วอื่น ๆ สองนิ้วในมือเดียวกัน
1,500
นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วอื่น ๆ สามนิ้วในมือเดียวกัน
2,000
นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วอื่น ๆ สี่นิ้วในมือเดียวกัน
2,400
ขา ตั้งแต่หัวเข่าขึ้นมา 4,500
ขา ตั้งแต่หัวเข่าลงไป 3,000
เท้า (ตรงข้อเท้า) 2,400
นิ้วหัวแม่เท้า หรือนิ้วอื่น ๆ สองนิ้วในเท้าเดียวกัน 300
นิ้วเท้าทั้งสองเท้า 600
ตา สูญเสียการมองเห็นไปหนึ่งข้าง 1,800
ตา สูญเสียการมองเห็นไปสองข้าง 6,000
หู สูญเสียการรับฟังไป หนึ่งข้าง 600
หู สูญเสียการรับฟังไป สองข้าง 3,000
ที่มา : The American Standard Scale of Time Charges.
ตัวอย่างที่ 2
จากตัวอย่างที่ผ่านมา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้คนงานเสียชีวิต 2 คน เสียนิ้วมือ 4 นิ้ว 1 คน นอกจากนั้นเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 52 คน ซึ่งต้องทำให้สูญเสียวันที่ทำงาน 382 วัน จงหาค่าความรุนแรงของอุบัติเหตุ (Severity Rate)
จำนวนวันทำงานสูญเสีย = (2x6,000)+(1,800)+(382) วัน
= 14,182
ความรุนแรงของอุบัติเหตุ = (14,182x1,000,000)/2,167,200
= 6,543.93
การประเมินค่าความปลอดภัยโดยวัดความถี่และความรุนแรงของอุบัติเหตุนั้นบางครั้ง ก็ไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า ค่าไหนเป็นค่าที่ดีกว่ากัน โรงงานที่มีอัตราความถี่ของอุบัติเหตุ และ อาจจะมีอัตราความรุนแรงสูง และบางโรงงานที่มีอัตราความถี่ของอุบัติเหตุสูง ก็อาจจะมีค่าความรุนแรงของอุบัติเหตุต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพิจารณา 2 ค่าประกอบกัน
ตัวอย่างที่ 3
โรงงานแห่งหนึ่งมีคนงาน 1000 คน ทำงานปีละ 50 สัปดาห์ และสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง และมีการขาดงานของคนงานทั้งสิ้น 5% เนื่องจากความเจ็บป่วยและธุรกิจส่วนตัว ในเวลา 1 ปี มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 80 ครั้ง จะมี Injury Frequency Rate หรือ IFR เท่าใด และพบว่าในจำนวนอุบัติเหตุ 80 ครั้ง ในปีนั้นคิดเป็นเวลาสูญเสียทั้งสิ้น 2,520 วัน จะคิดเป็น ISR เท่าใด
จำนวนครั้งของอุบัติเหตุ 80 ครั้ง จำนวนคนงาน
1,000 คน
จำนวนสัปดาห์ทำงานต่อปี 50 สัปดาห์
จำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ 40 ชั่วโมง
การขาดงานของคนงาน 5 %
จำนวนชั่วโมงแรงงานต่อปี = 1000x50x40x(1-0.05)
= 1,900,000 ชั่วโมง
ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ = (80x1,000,000)/1,900,000
= 42.11 ครั้ง/ หนึ่งล้านชั่วโมงคนงาน
จำนวนวันทำงานสูญเสีย
2,520
ความรุนแรงของอุบัติเหตุ = (2,520x1,000,000)/1,900,000
= 1,326.32 วัน/ หนึ่งล้านชั่วโมงคนงาน
หมายความว่า ในปีนั้นระดับความร้ายแรงของอุบัติเหตุ โดยคิดเป็น การเสียเวลาการทำงาน ประมาณ 1.3 วัน ต่อ 1,000 ชั่วโมงทำงานของคนงาน
ในบางครั้งอาจจะพิจารณาอัตราความถี่ผสมความรุนแรงของอุบัติเหตุ (Frequency-Severity Indicator, FSI) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงทั้งความถี่และความรุนแรงของอุบัติเหตุ ซึ่งมีสูตรดังนี้
FSI = (FR x SR)/1,000
จากตัวอย่างข้างต้น
FR = 42.11
SR = 1,326.32
FSI = (42.11x1,326.32)/1,000 = 55.86
ตัวอย่างที่ 4 นาย ก. นาย ข. นาย ค. ประสบอุบัติเหตุ มีผลดังนี้
นาย ก. แพทย์ให้หยุดทำงานติดต่อกันได้ 20 วัน
นาย ข. นิ้วกลางถูกกระแทกถึงโคนนิ้วแต่ไม่ต้องตัดออก ต้องรักษาตัว 8 วัน
เมื่อรักษาหาย แพทย์เห็นว่าจะเสียสมรรถภาพการทำงานไป 30%
นาย ค. แขนขาดหนึ่งข้าง เท้าขาดหนึ่งข้าง รักษาตัว 40 วัน แล้วเสียชีวิต
จงคำนวณหา SR จำนวนวันสูญเสียรวมทั้ง 3 คน เป็นเท่าไหร่?
ก + ข + ค = 20 + (300 x 0.30) + 6,000 = 6,110 วัน
การเปรียบเทียบจำนวนวันเฉลี่ยของการสูญเสียต่อครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ(Average Day Charged Per Accident :ADC) เป็นการคำนวณเพื่อวิเคราะห์ว่าในการเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้งในสถานประกอบการนั้นมีจำนวนสูญเสียเฉลี่ยมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งทำให้วิเคราะห์อันตรายที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุได้ จำนวนวันเฉลี่ยของการสูญเสียต่อครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ คำนวณได้ดังนี้
ADC = จำนวนวันสูญเสียทั้งหมด
จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ
จงหาค่า ADC
จำนวนครั้งของอุบัติเหตุ
80ครั้ง
จำนวนวันทำงานสูญเสีย
2,520วัน
ADC = 2,520/80 = 31.5 วัน/ครั้ง
 
 
 
 
แชร์
 
 
Visitors: 568,676