คณะกรรมการ 5ส

                                      ภารกิจของคณะกรรมการ 5ส

          ภารกิจ คือ เหตุผลที่ทำไมจึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมา ได้แก่

              1. จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์กิจกรรม 5ส

              2. จะต้องวางแผนดำเนินกิจกรรม 5ส

              3. จะต้องส่งเสริมกำกับดูแล และควบคุมการดำเนินกิจกรรม 5 ส

              4. จะต้องพัฒนากิจกรรม 5ส ให้เจริญรุดหน้าและบรรลุวัตถุประสงค์

              5. จะต้องรักษากิจกรรม 5ส ให้คงอยู่เป็นประโยชน์แก่ผู้ทำกิจกรรม 5ส และหน่วยงานต่อไป

 

               บทบาทของคณะกรรมการ 5ส

           1. กำหนดแผนแม่บทของการดำเนินงาน 5ส ขององค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย 5ส โดยคำนึงถึงความเป็นระบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

           2. จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ และดูงาน 5ส แก่พนักงานทุกระดับ

           3. ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีในการทำ 5ส แก่พนักงานในองค์กร

           4. จัดให้มีการตรวจสอบติดตามประเมินผลการทำ 5ส ทั่วทั้งองค์กรเป็นประจำทุกไตรมาส หรืออย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี

           5. สรุปผลการดำเนินงาน 5 ส ขององค์กร เพื่อรายงานแก่ผู้บริหารระดับสูง

           6. จัดประกวดหน่วยงานที่ทำ 5ส

                  บทบาทของผู้บริหารระดับสูง

  1. กำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินกิจกรรม 5ส ขององค์กร
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยต่างๆ ในการทำ 5 ส ของพนักงาน
  3. เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามหลักการของ 5ส
  4. ตรวจสอบการดำเนินงาน 5ส ขององค์กรอยู่เสมอ
  5. ชมเชย และให้รางวัลหน่วยงานที่ทำ 5ส

                บทบาทผู้บังคับบัญชาทุกระดับ

  1. นำแนวทางการดำเนินงาน 5ส มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน /องค์กร
  2. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการประชุมกลุ่มย่อย ( Small Group Discussion)  พร้อมทั้งติดตามผลการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  3. ตรวจติดตามผลการทำ 5ส ของหน่วยงานตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  4. เป็นตัวอย่างที่ดี และให้คำแนะนำในการปฏิบัติ 5ส และการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
  5. ชมเชยผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำ 5ส ได้ดี

                 ในคณะกรรมการ 5ส อาจแบ่งงานให้แก่กรรมการกลาง แต่ละคนรับผิดชอบงานเป็นฝ่ายต่างๆ ได้แก่

                 ฝ่ายบริหารทั่วไป

                 -           ควบคุมดูแลงานธุรการแลการเงิน

                 -           จัดทำงบประมาณ

                 -           จัดดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ อุปกรณ์

                 -           จัดหารางวัล

                 -           จัดทำข้อมูลกลาง

                 -           สนับสนุนการประชุมกลุ่ม

                   ฝ่ายประชาสัมพันธ์

                  -           สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กิจกรรม 5ส

                  -           จัดระบบการสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรม 5ส ทั้งภายในและภาพนอก

                  -           จัดเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม 5ส

                  -           จัดรณรงค์ให้มีการทำกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง

                  -           จัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม 5ส ในรูปแบบต่างๆ

                  -           จัดให้การต้อนรับบุคคลและคณะบุคคลที่เข้าศึกษาและดูงานพื้นที่ 5ส

                  -           จัดทำสื่อเพื่อการประมวลภาพและเหตุการณ์เกี่ยวกับกิจกรรม 5ส ในวาระต่างๆ

                 ฝ่ายทะเบียน

                 -           ดำเนินการจดทะเบียนกลุ่ม 5 ส

                -           บันทึกข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ในการทำ 5ส

                 -           บันทึกภาพพื้นที่ 5 ส ก่อนและหลังการทำกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนสมบูรณ์

                 -           ควบคุมเอกสารเกี่ยวกับ 5 ส ให้สามารถสืบค้นได้

นอกจากคณะกรรมการ 5ส ซึ่งมีกรรมการจากหน่วยงานต่างๆเป็นตัวแทนแล้ว ก็ต้องจัดให้มีคณะกรรมการประจำพื้นที่ด้วยการเลือกตั้งจากสมาชิกของพื้นที่หรือกลุ่มที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นหน่วยงานที่มีคนในสังกัดน้อย สมาชิกพื้นที่ก็จะเป็นกรรมการโดยอัตโนมัติ   โดยทั่วไปหัวหน้าพื้นที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ไปเป็นกรรมการกลาง โดยทั่วไปหัวหน้าพื้นที่ควรเป็นหัวหน้าหน่วยงานเพื่อมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการนำ แต่เมื่อนำกิจกรรมไป 2 ปีอาจเลือกหัวหน้าพื้นสับเปลี่ยนกันไปก็ได้ เพื่อผลัดเปลี่ยนและเสริมสร้างภาวะผู้นำในการทำกิจกรรม 5ส

 

  

ผู้ประสานงานกิจกรรม 5ส

องค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีกลุ่มกิจกรรม 5ส มาก คณะกรรมการ 5ส อาจพิจารณาจัดให้มีผู้ประสานงานกิจกรรม 5ส ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า 5S Coordinator  หรือ 5S Facilitator ไว้ทำหน้าที่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งจะต้องคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติที่มีลักษณะตัว เหมาะสมในการประสานงาน และมีความเข้าใจกิจกรรม 5ส อย่างถ่องแท้

บทบาทผู้ประสานงาน 5ส

ผู้ประสาน 5ส (5S Facilitators)  จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในการดำเนินการ โดยมีบทบาทเป็น

  1. ผู้วางแผน (Planner)  วางแผนการดำเนินงาน 5ส ของหน่วยงาน
  2. ผู้ส่งเสริม (Promotor) ทั้งในด้านเทคนิค วิชาการ ข้อมูล และประชาสัมพันธ์
  3. ผู้ประสานงาน (Coordinator) ประสานงานการดำเนินงาน 5ส ในหน่วยงานให้ได้ผล
  4. ผู้ติดตาม ( Monitor) ติดตามและรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรม 5ส
  5. ผู้ประเมินผล (Evaluator)  ประเมินผลการดำเนินงาน 5สพร้อมทั้งหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน 5ส ในหน่วยงาน
  6. ผู้ดำเนินการ (Administrator) ดำเนินการให้มีการทำ 5ส ในหน่วยงานตามแผนที่กำหนด

        จะเห็นว่าผู้ประสานงาน 5ส มีหน้าที่สำคัญในการประสานงานให้การดำเนินงาน 5 ส ในหน่วยงานให้ประสบผลตามแผนงานที่กำหนด ดังนั้น การคัดเลือกผู้ประสานงาน 5 ส ควรคำนึงคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้

  1. มีความรู้ความสามารถในการสอนและถ่ายทอดงานได้ดี
  2. เป็นบุคคลที่เพื่อนพนักงานให้การยอมรับ
  3. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนพนักงานทั้งในและนอกหน่วยงาน
  4. มีความสนใจและขยันในการทำงาน และมีคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
  5. มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะและชอบการประชาสัมพันธ์

คณะกรรมการ 5 ส

   องค์กรขนาดใหญ่ทีมีเครือข่ายกว้างขวางอยู่ในพื้นที่ห่างไกลกัน อาจจัดให้มีคณะกรรมการตรวจ 5ส ขึ้นมารองรับภารกิจในการกำหนดแผนการตรวจให้คะแนนพื้นที่ 5ส เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่ก็ได้

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจ 5ส

บทบาท หมายถึง สิ่งที่ได้รับการคาดหวังว่าบุคคลในฐานะหนึ่งต้องทำคณะกรรมการตรวจ 5ส ได้รับการคาดหวังว่าจะต้องทำในสิ่งต่อไปนี้

  1. ตรวจว่าผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารทกคนส่งเสริมสนับสนุนโปรแกรม 5ส หรือไม่
  2. ผู้บริหารเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ 5ส หรือไม่
  3. ผู้บริหารติดตามผลของโครงการ 5ส หรือไม่
  4. ผู้บริหารให้การยกย่อง และให้รางวัลแก่ผู้มีผลงาน 5ส หรือไม่
  5. บุคลากรมีความภาคภูมิใจในสถานที่ทำงานของตนหรือไม่
  6. กำหนดระยะเวลาและรูปแบบในการตรวจสอบ

หน้าที่ หมายถึง สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ และสามารถทำได้โดยชอบ

คณะกรรมการตรวจ 5ส ได้รับมอบหมายให้ทำในสิ่งต่อไปนี้

  1. ตรวจสถานที่ทำงานว่าได้รับคัดแยกสิ่งของที่จำเป็นต้องไว้ถูกต้องหรือไม่
  2. ตรวจสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยในการทำงานหรือไม่
  3. ตรวจการจัดเก็บสิ่งของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้เป็นระเบียบหรือไม่
  4. ตรวจว่าสิ่งที่จะนำมาใช้ได้สะดวกหรือไม่
  5. ตรวจว่าเครื่องจักร และเครื่องมือจัดไว้สะดวกแก่การใช้หรือไม่
  6. ตรวจว่าสินค้าคงคลังเก็บไว้ตามหลัก FIFO หรือไม่
  7. ตรวจว่าสถานที่ทำงานสะอาด และเป็นระเบียบหรือไม่
  8. ผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ปราศจากฝุ่นหรือไม่
  9. บุคลากรทำความสะอาดประจำวันเป็นไปอย่างอัตโนมัติหรือไม่
  10. บุคคลกรสวมเครื่องแบบหรือเสื้อสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือไม่
  11. บุคลากรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจหรือไม่

ความรับผิดชอบ หมายถึง สิ่งเป็นพันธะผูกพันให้กระทำจนเกิดผลสำเร็จ

คณะกรรมการการตรวจ 5ส มีพันผูกพันต่อผลสำเร็จในสิ่งต่อไปนี้

  1. ตรวจและประเมินผลการทำกิจกรรม 5ส
  2. ติดตามและรายงานความก้าวหน้าของการทำกิจกรรม 5ส
  3. ให้คำแนะนำแก่ผู้รับผิดชอบพื้นที่ 5ส เพื่อปรับปรุงให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐาน
  4. รักษาเวลา การตรวจอย่างสม่ำเสมอ

 

Visitors: 569,337