ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า

ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

( SAFETY IN ELECTRICAL WORKS )

            กระแสไฟฟ้า ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้เป็นตัวต้นกำลังให้กับเครื่องจักรต่าง ๆ มีอันตรายมาก ที่สุดและ รวดเร็ว ที่สุดเมื่อเข้าไปสัมผัส แต่กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนมองข้ามไป ผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง ควรมีความ รู้ความ เข้า ใจ ในการทำงาน เกี่ยว กับไฟฟ้า ในอุตสาหกรรมไทย กระแสไฟฟ้าที่ใช้ มีแรงเคลื่อน 220 โวลท์ และ 380 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ท เรานำ ไฟฟ้ามา ใช ้ ใน รูปแบบต่างๆ ดังนี้  

1. เป็นต้นกำลังพลังงานกล

2. เป็นแหล่งให้แสงสว่าง

3. เป็นแหล่งให้ความร้อน โดยต่อเข้ากับขดลวดชุดความร้อน

4. เป็นแหล่งหรือสื่อกลางของการสื่อสาร

5. เป็นแหล่งให้พลังงานกับอุปกรณ์

6. เป็นแหล่งใหัอำนาจแม่เหล็กกับอุปกรณ์

7. เป็นแหล่งให้เกิดปฏิกิริยาเคมี

สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้า

1. จากตัวคนงานเอง

1. ขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับหลักการและกฎทางไฟฟ้า
2. ขาดความระมัดระวังตัว เพราะไม่เห็นถึงความอันตรายของไฟฟ้า และเพราะไกล้ชิดกับไฟฟ้าจนเคยชิน
3. ขาดสำนึกที่ว่า ธรรมชาติของไฟฟ้ามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และหยั่งรู้ด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆไม่ได้ จะรู้เมื่อสัมผัสเท่านั้น

2. จากระบบการบริหาร
1.ขาดความต่อเนื่องทางเทคนิคเกี่ยวกับไฟฟ้า ไม่มีแบบแปลนไฟฟ้าที่ถูกต้องประจำโรงงาน ข้อมูลและ ตัวเลขทางเทคนิคต่าง ๆของระบบ ไฟฟ้าในโรงานก็ไม่มี หรือมีก็ไม่ครบ ไม่ทันสมัย หรือ ตรวจสอบยาก
2.มีการต่อเติมระบบไฟฟ้าอย่างไม่เป็นระบบ และบ่อยครั้งไม่ถูกหลักวิชาการ หรือเมื่อต่อเติมก็ไม่ได้ เพิ่มเติม ในแบบแปลน
3.ขาดช่างเทคนิคที่มีความสามารถ และมีจำนวนไม่เพียงพอกับงาน บางโรงงานไม่มีช่างไฟฟ้า ประจำหรือมีน้อย จนทำให้ทำงานไม่ทัน ขาดการเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา

4.เข้าใจผิดว่า ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้จึงมองข้ามความสำคัญของช่างไฟฟ้า

5.อุปกรณ์ไฟฟ้าในประเทศมีราคาแพง มีของเลียนแบบที่ถูกกว่าอยู่มาก จึงมีการใช้ของที่มีคุณภาพต่ำ กว่ามาตรฐาน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่มีมาตรฐานเพียงพอ

6.ในการซ่อมแซมเครื่องจักรกลที่มีไฟฟ้าอยู่ด้วย มักทำโดยไม่มีระบบ ลอคเอ๊าท์

7.ขาดการประสานงานที่ดี ระหว่างฝ่ายผลิตกับซ่อมบำรุง ทำให้เข้าใจผิดในการสั่งงาน อาจทำให้เกิด อันตรายได้ ข้อควรระวังในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

1. เมื่อพบว่า ฝาครอบ กล่องสวิทช์ชำรุดเสียหาย ควรรีบเปลี่ยนและซ่อมแซมทันที
2. รักษาความสะอาดเรียบร้อยของบริเวณที่มีสวิทช์อยู่ไกล้ ๆ 
3. ตรวจสอบ ภายในแผงสวิทช์ ตู้ควบคุม ไม่ให้มีเศษที่นำไฟฟ้าอยู่ ห้ามนำฟิวส์ออกจากตู้ควบคุม 
4. ควรใช้ฟิวส์ให้ถูกขนาด และสับสวิทช์เมื่อทำการแก้ไขซ่อมแซม 5. ฝาครอบไม่ควรเป็นสารที่ลุกติดไฟได้ 
6. ตวรจสอบสวิทช์ตัดตอนเป็นประจำทุกเดือน 
7. สวิทช์ควรมีป้ายแสดงรายละเอียดดังนี้ 

A. ใช้กับกระแสตรงหรือสลับ
B . ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า 
C . กระแสไฟฟ้า
D. เครื่องมือที่ต่อกับสวิทช์นั้น 
E. ชื่อผู้รับผิดชอบ

8. ต้องสับสวิทช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด เมื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซม และ มีป้ายเตือนว่า กำลังซ่อม

9. การส่งสัญญาณในการเปิด ปิด สวิทช์ควรทำด้วยความระมัดระวัง

10. ห้ามเปิดสวิทช์เมื่อมือเปียกน้ำ

11. การสลักเกลียวเพื่อยึดสายไฟควรขันให้แน่น

12. การเปิดสวิทช์ให้เครื่องทำงาน ควรแน่ใจว่าไม่มีอะไรติดอยู่ข้างในเครื่องจักร การใช้สวิทช์ตัดตอน

1. สวิทช์ที่ใช้งานกับส่วนที่อาจเกิดอันตรายสูง ผู้รับผิดชอบต้องหมั่นตรวจสอบดูแล และทำป้ายบอกเตือน 
2. ในการตรวจหรือซ่อมแซมเครื่องจักร ต้องมีป้าย หรือสัญลักษณ บอกว่า กำลังซ่อม ์ติดที่สวิทช์ 
3. การใช้สวิทช์ควบคุมเครื่องที่ใช้ร่วมกันหลายคน ควรมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน 
4. การทำงานร่วมกัน ระหว่างคนงาน 2 กลุ่ม ที่ใช้เครื่องร่วมกัน ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ประสานงานกัน อย่างดี ก่อนที่จะทำการเปิดปิดสวิทช์ไฟฟ้า

การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า

1. ตวรจสอบสายไฟฟ้า ถ้าชำรุดให้ใช้เทปพันเป้นแนวนหุ้มให้เรียบร้อย และตวรจจุดต่อสายไฟด้วย

2. อุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ควรตรวจสอบบริเวณจุดข้อต่อ ขั้วที่ติดอุปกรณ์ สายไฟฟ้าด้วยความระวัง ถ้า ชำรุดควรเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดี

3. รักษาสภาพเครื่องมือที่เคลื่อนย้ายได้ให้อยู่ในสภาพดีตลอด

4. ดวงโคมไฟฟ้าต้องมีที่ครอบ ป้องกันหลอดไฟ

5. การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ควรให้ช่างทางเครื่องมือเป็นผู้ดำเนินการ

6. ห้ามจับสายไฟขณะที่ไฟฟ้าไหลอยู่

7. อย่าแขวนสายไฟบนของมีคม เช่น มีด เลื่อย ใบพัด

8. การใช้เครื่องมือทางไฟฟ้า ควรต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะลงสู่ดิน

9. การใช้มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบควบคุมในการเปิดปิดใช้งาน

10. ในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายควรมี ป้าย ไฟสัญญาณ ธงสีแดง เทปแดง ติดแสดงไว้

11. ถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดปกติกับอุปกรณ์ควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ

12. ห้ามปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายทางไฟฟ้า ออก เว้นแต่ได้รับอนุญาต

13. เมื่อใช้งานเสร็จควรปิดสวิทช์ และต้องแน่ใจว่าสวิทช์ได้ปิดลงแล้ว

14. ควรหมั่นทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง

15. ควรระวังไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูง

16. ควรเอาใจใส่ดูแลสายไฟฟ้าแรงสูง ตรวจสภาพอยู่เสมอ

17. ห้ามห่อหุ้มโคมไฟด้วยกระดาษ หรือ ผ้า

18. ห้ามนำสารไวไฟหรือ สารลุกติดไฟง่ายเข้าไกล้กับสวิทช์

19. ห้ามใช้อุปกรณ์ขณะมือเปียกน้ำ

20. เมื่อมีผู้ได้รับอันตราย ควรสับสวิทช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด

21. เมื่อไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าช๊อต ควรสับสวิทช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด

22. ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟฟ้า

23. ควรกดสวิทช์ให้แน่ใจว่าสวิทช์ไม้ค้าง

การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

1. การติดตั้งต้องดูแลโดยช่างหรือผู้ชำนาญ เว้นแต่งานที่มีความต่างศักย์ต่ำกว่า 50 โวลท์ ซึ่งต่อลงดิน เรียบร้อยแล้ว

2. การติดตั้งต้องผ่านการปรึกษาหารือ จากผู้ชำนาญ โดยเฉพาะการสื่อสารเมื่อมีการทำงานในขณะกระแสไฟฟ้าไหลอยู่

3. การติดตั้งอุปกรณ์ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะ หรือมีแนวนหุ้มดี

4. ไม่ควรทำงานในขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่

5. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องปฏิบัตตามกฎหมายและมาตรฐานทางไฟฟ้า

6. ห้ามเปิดชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เมื่อเปิดแล้วจะมีกระแสไฟฟ้าไหลควรใช้ฝาครอบหรือฉนวนกั้น

7. อุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในที่สูง ต้องมีฉนวนหุ้มอย่างดี ตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่เสมอ

8. เมื่อมีการอุปกรณ์ไฟฟ้าบนถนน ควรมีระบบป้องกันอันตรายเฉพาะงาน

9. หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้ม อุปกรณ์อยู่เสมอ ในบริเวณที่อาจสัมผัส หรือทำงาน

10. กรณีการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ที่อาจมีการขัดจังหวะงานได้ ควรระวัง

11. เครื่องจักรทุกชนิดควรมีระบบสายดินที่ดี

12. เครื่องจักรบางชนิดที่สับสวิทช์ให้ทำงานแล้วไม่สามารถกดสวิทช์ให้มาทำงานที่จุดเริ่มต้นได้ ควรม ีป้ายบอกไว้ชัดเจน

13. ต้องมีการถ่ายเทประจุไฟฟ้าเมื่อเครื่องมือนั้นมีประจุค้างอยู่

การทำงานขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ไฟฟ้าแรงสูง

1. ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน เช่น ถุงมือ ยาง รองเท้าหุ้มส้น หมวกแข็ง

2. ถ้าต้องทำงานไกล้ไฟฟ้าแรงสูง น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ที่เป็นฉนวนอย่างดี

3. ในกรณีที่อยู่ห่างมากกว่า 60 เซนติเมตร ใช้อุปกรณ์รองลงมา

4. ในการทำงานต้องปรึกษาช่างหรือผู้ชำนาญการทางไฟฟ้าเสียก่อน และ ต้องมีผู้ชำนาญการควบคุม ดูแล

5. คนงานไม่ควรพักไกล้สายไฟฟ้าแรงสูง

6. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน

ไฟฟ้าแรงต่ำ

1. สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเฉพาะสำหรับไฟฟ้าแรงต่ำ

2. ในกรณีที่อาจสัมผัสสายไฟฟ้าแรงต่ำ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัยอันตราย และ ทำการฉนวนอย่างเหมาะสม

คัดลอกบทความจาก...

http://www.thai-interelectric.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=132294&Ntype=7

Visitors: 568,318