อุบัติเหตุจากเครื่องจักร

อุบัติเหตุจากการทำงานกับเครื่องจักร
สวัสดีครับ
  อุุบัติเหตุเมื่อเกิดขึ้นแล้ว...ผลกระทบที่ตามมา พนักงานที่บาดเจ็บ สีหน้า แววตา เศร้า ...สลด
ทำไมต้องเกิดการสูญเสีย.... แค่ คำว่า เป๊บเดียวเอง  คิดว่าไม่เป็นไร ทำแบบนี้มานานแล้ว ใคร ใครเขาก็ทำกัน...
ไหนจะเจ็บตัว จะต้องถูกสอบสวน ขวัญกำลังใจย่อมหดหาย ....
สถิตความปลอดภัยของบริษัทต้องหยุด เพราะเราหรอ.. ทุกคนจะจดจำเรา ไม่ช่ายในการทีดี 
ข่าวอุบัติเหตุกับเครื่องจักรนี้ อยากให้เป็นอุธาหรณ์สอนใจเรา  
หัวหน้า และผู้บริหาร เราจะมีมาตรการป้องกันแก้ไขอย่างไร?
ที่จะไม่ให้เกิด...อุบัติเหตุ กับบริษัทเรา 
เราทำได้ ด้วยหลัก 3 ป
          1.ป ปลูกจิตสำนึก
           2.ป ประเมินความเสี่ยง
           3. ป ปรับปรุงให้ปลอดภัย

กรณีศึกษา : ลูกจ้างถูกเครื่องผสม/บดดิน บดขาซ้ายขาด

วันที่ 13 พ.ค.60 เวลาประมาณ 10.30 น.ลูกจ้างของโรงงานอิฐ xxx ตั้งอยู่เลขที่ xxx ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ประกอบกิจการผลิตอิฐ มีนายxxx เป็นเจ้าของกิจการ มีลูกจ้างรวม 12 คน เป็นชาย 6 คน เป็นหญิง 6 คน ชื่อนายxxx อายุ 23 ปี สัญชาติเมียนมาร์ มีหน้าที่ขับรถแบ็คโฮตักดินจากกองแต่มีดินบางส่วนกองอยู่บริเวณขอบเครื่องบด ลูกจ้างจึงลงจากรถแล้วใช้เท้าเขี่ย/ดันดินให้เข้าไปในเครื่อง แต่เกิดลื่นไถลและตกลงไปในเครื่องบดขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน เป็นเหตุให้เท้าข้างซ้ายถูกชุดใบมีดผสม/บดดิน บดจนกระดูกแตก โดยแพทย์ได้ตัดขาซ้ายเหนือเข่า

ขอบคุณภาพและข้อมูลประกอบ จากพนักงานตรวจความปลอดภัย ศปข.5 ลำปาง ร่วมกับ สสค. เชียงใหม่

1. การวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุ
1.1.ลักษณะอุบัติเหตุ : ถูกบด/ตัด/บาด
1.2.ต้นตออุบัติเหตุ : ชุดใบมีดเครื่องผสม/บดดิน
1.3 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย : ใช้เท้าเขี่ย/ดันดิน ให้ตกลงไปในเครื่องบด
: ไม่ปิดสวิตซ์หยุดการทำงานของเครื่องผสม/บดดิน
1.4 สภาพที่ไม่ปลอดภัย: เครื่องผสม/บดดิน ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
: ไม่มีราวกันตกบริเวณช่องใส่ดิน เพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปในเครื่อง
: พื้นบริเวณรอบเครื่องจักรอยู่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย
1.5 ผลของอุบัติเหตุ : ขาซ้ายขาด ถูกตัดเหนือเข่า

2. มาตรการป้องกัน
2.1 การป้องกันแก้ไขทางวิศวกรรม
2.1.1 จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เช่น ฝา/ตะแกรงปิดขณะเครื่องจักรทำงาน
2.1.2 มีการติดตั้งปุ่มหยุดฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถหยุดการทำงานของเครื่องจักรด้วยตนเองได้ทันที
2.1.3 จัดทำราวกันตกบริเวณช่องใส่ดิน เพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปในเครื่อง
2.1.4 จัดทํารั้ว คอกกั้น หรือ เส้นแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งของเครื่องจักร ให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน

2.2 การป้องกันแก้ไขโดยกำหนดข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
กำหนดข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน กำหนดขั้นตอน/วิธีการทำงานที่ปลอดภัย และวางระบบควบคุม กำกับ ดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ

2.3 การป้องกันแก้ไขโดยการให้ความรู้ ความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน
จัดให้มีการอบรมและให้ลูกจ้างฝึกปฏิบัติ ตามข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และแจ้งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและมาตรการป้องกันให้ลูกจ้างทราบ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมให้ลูกจ้างมีความรู้และความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน และกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 16 พรบ. ความปลอดภัยฯ 2554)

2.4 จัดให้มีป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มาตรา 17 พรบ. ความปลอดภัยฯ 2554)

2.5 ติดประกาศวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในการทำงานเครื่องผสม/บดดิน ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน

3. ประเด็นกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง

3.1 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ํา พ.ศ. 2552
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=257:-m---m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186
ข้อ 8 เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไส หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ นายจ้างต้องประกาศกําหนดวิธีการทํางานของลูกจ้าง ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทํางาน

ข้อ 10 นายจ้างต้องดูแลให้พื้นบริเวณรอบเครื่องจักรอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย

ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดให้มีวิธีการดําเนินการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ดังต่อไปนี้
(4) เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานโดยใช้เพลา สายพาน รอก เครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกําลัง ต้องมีตะแกรงหรือที่ครอบปิดคลุมส่วนที่หมุนได้และส่วนส่งถ่ายกําลังให้มิดชิด

ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดทํารั้ว คอกกั้น หรือ เส้นแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งของเครื่องจักร ให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน และต้องดูแลไม่ให้ลูกจ้างซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว

3.2 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2549
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=254:-m---m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186

ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานไว้ในสถานประกอบกิจการ ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเพื่อควบคุมมิให้มีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กํากับ ดูแล โดยกําหนดให้เป็น หน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับ
+ การจัดให้มีจป. ระดับต่างๆ

3.3 พระราชบัญญัติความตปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
http://www.oshthai.org/images/PDF/2014/10/osh-act.b.e.2554.pdf

มาตรา 8 ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิต ใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้ง ให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย
การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

มาตรา 34 ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(2) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือ ต้องหยุดการผลิต หรือ มีบุคคลในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิด สารเคมีรั่วไหล หรืออุบติภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือ วิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือ โดยระบุ สาเหตุ อันตรายที่เกิดขึ้น ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ําอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหต
การแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและเมื่อพนักงานตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ดําเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/125/82.PDF ประกาศกรมฯ กำหนดแบบแจ้งการประสบอันตราย (สปร.๕)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบและวิธีการแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน และการส่งสำเนาหนังสือแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/224/12.PDF

อุบัติเหตุป้องกันได้ โดยการปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน

ชิษณุภรณ์ บุรีคำ
นักวิชาการแรงงานชำนาญการ
ศปข.5 ลำปาง กองความปลอดภัยแรงงาน
13 พฤษภาคม 2560

โรงงานเปรียบเสมือนบ้าน  เพื่อนร่วมงานเปรียบญาติพี่น้องเรา

ตรวจเช็ค ปฏิบัติตามกฏ หลี่กเลี่ยงงานเสี่ยงอันตราย คิดก่อน  เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน

อุบัติเ้หตุเป็นศูนย์  OK

Visitors: 568,565