การป้องกันเหตุอัคคีภัย

การป้องกันเหตุอัคคีภัย
ป้าย เครื่องหมาย
แสดงพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ พื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉิน โทรศัพท์ และทางหนีไฟ
พร้อมทั้งเอกสาร บอกวิธีการใช้หรือภาพ แสดงวิธีการไว้อย่างง่ายๆ

 

ระบบป้องกันอัคคีภัย

การป้องกันอัคคีภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การป้องกันอัคคีภัยแบบเตรียมการล่วงหน้าประกอบด้วย โครงสร้างของอาคาร จำนวนและชนิดของประตูและทางหนีไฟ ความทนไฟของอาคาร อุปกรณ์ตรวจจับควัน ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง การแจ้งเตือนภัย การฝึกอบรม และระยะห่างของกำแพงทนไฟ
2. การป้องกันอัคคีภัยแบบป้องกันตัว ประกอบด้วย ทีมกู้ภัยของคลังสินค้า และพนักงานดับเพลิงท้องถิ่น

การป้องกันอัคคีภัย ประกอบด้วย
(1) เครื่องมือดับเพลิงมือถือ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของไฟ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงให้มีจำนวน ชนิด และปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุอันตรายที่เก็บ
(2) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง (sprinkling system) ควรติดตั้งในคลังเก็บสารไวไฟ ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถฉีดน้ำหรือสารเคมีดับเพลิงได้อย่างเหมาะสมทั่วพื้นที่ ในคลังที่การจัดเรียงสินค้าเป็นชั้น
ต้องติดหัวกระจายน้ำทุกชั้น อย่างน้อยที่สุด 1 หัวต่อ 2 ชั้น
(3) หัวรับน้ำดับเพลิงและสายดับเพลิง ต้องมีจำนวนและระยะห่างจากกันที่เหมาะสมซึ่งขึ้นกับความยาวของสายดับเพลิง ความดันน้ำ และอุปกรณ์ที่ใช้
โดยปกติระยะห่างระหว่างหัวรับน้ำดับเพลิงแต่ละจุดห่างกัน 50 เมตร
(4) ระบบน้ำดับเพลิงสำรอง ต้องมีปริมาณน้ำสำรองที่เพียงพอต่อการดับเพลิง 2 ชั่วโมง ต้องมีปริมาณน้ำและอัตราการไหลที่เพียงพอ ให้ทีมกู้ภัยของคลังสินค้าสามารถเข้าทำการควบคุมเพลิงได้ จนกว่าพนักงานดับเพลิงท้องถิ่นจะมาถึง หรือจนกว่าการอพยพ ค้นหา และช่วยเหลือผู้ติดในอาคารแล้วเสร็จ ปริมาณน้ำสำรองต้องเพียงพอที่จะใช้ในการป้องกันการลุกลามของไฟไปยังอาคารอื่นใกล้เคียง
การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย จะสามารถตรวจจับ และส่งสัญญาณเตือน ทำให้ผู้ปฎิบัติงาน ทราบเหตุการณ์ได้รวดเร็ว สามารถเข้าจัดการ ระงับภัยเบื้องต้นได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าว จะสามารถ ลดความเสียหายได้ต่อเมื่อ หน่วยกู้ภัยสามารถมาถึงที่เกิดเหตุได้ภายใน 15 นาที
อุปกรณ์ ป้องกันอัคคีภัยที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เครื่องตรวจจับเปลวไฟ เครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องตรวจจับความร้อน เป็นต้น เมื่อติดตั้งเครื่องตรวจจับชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ต้องติดตั้งระบบ Sprinkler ควบคู่ไปด้วย โดยเครื่อง ตรวจจับควันไฟ ส่งสัญญาณ เตือนไปยังระบบ Sprinkler เพื่อให้ระบบ Sprinkler ทำงาน อาจเป็นระบบอัตโนมัติ หรือใช้คนควบคุมก็ได้ ในบางโอกาสอาจส่งสัญญาณเตือนภัย ไปที่หน่วยกู้ภัยท้องถิ่นด้วย

การจัดเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินในพื้นที่

สามารถหยิบใช้ได้ง่าย
โดยทั่วไปแล้ว นิยมติดตั้งบริเวณ ทางเข้า-ออก อาคาร/โรงงาน หรือคลังเก็บวัตถุอันตราย


อุปกรณ์ฉุกเฉินดังกล่าวนี้ หมายรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้จัดการ เมื่อเกิดการรั่วไหลของวัตถุอันตราย
ประกอบด้วย
- ชุดป้องกันภัยส่วนบุคคล
- ถังเปล่าสะอาดขนาดใหญ่
- ฉลากปิดภาชนะเพื่อระบุว่าวัตถุที่บรรจุนั้นเป็นวัตถุอันตรายประเภทใด
- สารดูดซับ เช่น ทราย - ผงซักฟอก - ไม้กวาด - พลั่ว - ฯลฯ

 


ต้องมีระบบการแจ้งเหตุเตือนภัยที่เหมาะสม

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น หากมีระบบการแจ้งเหตุที่ดี หน่วยกู้ภัยสามารถ มาถึงที่เกิดเหตุได้ ภายใน 10-15 นาที การจัดการกับอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นสามารถ ดำเนินการ ได้ง่าย เนื่องจากภายในเวลาดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้ว อุบัติเหตุ ยังไม่ขยายตัวออก เป็นอุบัติเหตุใหญ่

สัญญาณเตือนภัย
ต้องมีลักษณะดังนี้
ก. มีระดับเสียงดังกว่าระดับปกติในการทำงาน และสามารถได้ยินโดยไม่ดังจนเกินไปจนทำให้รู้สึกปวดแก้วหู ข. ต้องเป็นเสียงที่แยกแยะได้ง่ายโดยเฉพาะสัญญาณดังยาวสลับหยุด หรือสัญญาณดังสลับหยุด
ต้องสามารถยกได้อย่างชัดเจนจากสัญญาณอื่น ๆ
หากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณที่ความถี่ต่าง ๆ ได้ ให้ใช้สัญญาณที่ความถี่ที่ต่างกันเพื่อบอกระดับความเป็นอันตรายที่สูงขึ้น หรือต้องเร่งดำเนินการแก้ไขเหตุฉุกเฉินตามระดับอันตรายนั้น
สัญญาณเตือนภัย แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) สัญญาณเตือนหนีไฟ เป็นสัญญาณเสียงต่อเนื่อง อาจเป็นชนิดที่กดสัญญาณโดยผู้ปฏิบัติงานหรือโดยเครื่องตรวจจับควันก็ได้ ถ้าเป็นชนิดที่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้กดต้องติดตั้งกล่องกดสัญญาณเตือนหนีไฟไว้ทุก ๆ อาคารคลัง และควรติดตั้งกล่องกดสัญญาณไว้ทุก 30 เมตร เพื่อให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์สามารถกดได้ทันที สัญญาณเสียงต้องได้ยินทั่วพื้นที่ โดยทั่วไปสัญญาณเตือนหนีไฟเป็นสัญญาณเสียงครางยาว 1 นาที
(2) สัญญาณเตือนเมื่อเกิดเหตุก๊าซรั่ว สำหรับคลังเก็บวัตถุอันตรายประเภทก๊าซพิษ หรือสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงหมดสติ หรือก๊าซอื่น ต้องติดตั้งเครื่องตรวจจับก๊าซที่มีความเหมาะสมกับก๊าซนั้น ๆ ถ้าเครื่องตรวจจับก๊าซที่มีค่าความเข้มข้นเกินระดับที่ตั้งไว้เครื่องตรวจจับก๊าซจะส่งสัญญาณเสียงเตือนก๊าซ
รั่วเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใส่อุปกรณ์ป้องกันและรีบออกจากพื้นที่ทันที โดยทั่วไปสัญญาณเตือนก๊าซรั่วจะเป็นสัญญาณเสียงที่ดังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคงที่เป็นเวลา 1 นาทีที่ระดับเสียงระดับหนึ่ง หลังจากนั้นระดับเสียงจะค่อย ๆ ลดลง

ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทราบถึงความแตกต่างของสัญญาณต่าง ๆ และวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
อาจแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของสัญญาณเตือนภัยไว้ที่ประตูทางเข้าออกของคลังเก็บสินค้า

จัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการอบรมให้สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วย
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็น ได้แก่
- ฝักบัวฉุกเฉิน
- ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- น้ำท่วม
- เปลสนาม - ฯลฯ

ทางหนีไฟ
หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถออกจากอาคารเพื่อไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยได้
โดยที่ประตูและทางหนีไฟต้อง(1) ไม่มีสิ่งกีดขวาง และสามารถเปิดออกสู่พื้นที่ปลอดภัยได้โดยตรงและเร็วที่สุด
(2) ระยะห่างระหว่างพื้นที่ทำงานและทางหนีไฟต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
(3) ต้องมีจำนวนทางหนีไฟและประตูหนีไฟที่เพียงพอ จำนวนประตูและทางหนีไฟขึ้นกับขนาดของอาคาร อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และลักษณะของกิจกรรมในอาคาร
(4) ประตูทางหนีไฟต้องเป็นแบบเปิดออกสู่ภายนอก ห้ามใช้ประตูเลื่อน ประตูหมุนปิดเป็นประตูหนีไฟ ประตูหนีไฟต้องไม่ถูกล็อคหรือผูกยึดในลักษณะที่ไม่สามารถเปิดออกได้ง่าย
(5) ต้องมีป้ายสัญลักษณ์บอกทางหนีไฟ และประตูหนีไฟตามที่กฎหมายกำหนดไว้
(6) ทางออก ประตู และเส้นทางจราจร ที่ใช้เป็นทางเข้าไปถึงทางหนีไฟต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
(7) ต้องมีไฟฉุกเฉินที่ทางหนีไฟและประตูหนีไฟที่มีความเข้มของแสงที่เพียงพอ
(8) ต้องจัดหาแบบพิมพ์เขียวแสดงทางหนีไฟสำหรับอาคารและจัดแสดงติดพิมพ์เขียวไว้ภายในอาคาร
(9) ต้องจัดให้มีจุดนัดพบสำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อทำการตรวจสอบบุคคลที่อาจสูญหาย
(10) ทางหนีไฟต้องมีความกว้างอย่างน้อย 1.10 เมตร หากมีคนงานมากกว่า 50 คน ขนาดของทางหนีไฟช่องสุดท้ายต้องเพิ่มเป็น 1.70 เมตร ยกเว้นว่ามีทางหนีไฟเพิ่มอีกหนึ่งจุด
เขียนโดย Healthy Lover
ป้ายกำกับ: การป้องกันเหตุอัคคีภัย

กรุณากรอกข้อความ...
Visitors: 569,147